เปิดโปงข้อมูลลับ การกำเนิดดาวนิวตรอน เรื่องที่ทุกคนควรรู้

กำเนิดดาวนิวตรอน — ดาวควอนตัมสุดประหลาด เมื่อวานนี้มีการประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการชนกันของดาวนิวตรอนของทีมนักวิจัยจาก LIGO เจ้าเก่า วันนี้เลยอยากจะพาทุกท่านดำดิ่งลึกลงไป ณ ใจกลางของดาวมวลมาก เพื่อดื่มด่ำทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิด “ดาวนิวตรอน” ดาวนิวตรอนนั้นเกิดจากปรากฏการณ์ควอนตัม เป็นตัวอย่างอันเห็นได้ชัดของการมีอยู่ของทฤษฎีควอนตัม จะเรียกดาวนิวตรอนว่าเป็น “ดาวควอนตัม” ก็ไม่ผิดอะไร ดาวนิวตรอนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jocelyn Bell Burnell ในปี 1967 ในขณะที่เธอยังเป็นนักศึกษาที่ Cambridge โดยมี Antony Hewish เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ในตอนนั้นเธอตรวจพบสัญญาณที่ถูกส่งออกมาเป็นช่วงๆ ที่มีลักษณะเป็น Pulse (พัลส์) ซึ่งสัญญาณถูกส่งออกมาถี่มาก ทุกๆมิลลิวินาที ตอนแรกเธอนึกว่าเป็นสัญญาณจากมนุษย์ต่างดาว เลยเรียกโปรเจ็คนี้ว่า “Little Green Man” หรือโปรเจ็ค “มนุษย์ตัวเขียว” แต่ก็ต้องประหลาดใจที่พบสัญญาณ Pulse นี้หลายๆจุดบนท้องฟ้าจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นสัญญาณจากมนุษย์ตัวเขียว เมื่อทำการวิเคราะห์พบว่า สัญญาณดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีของดาวนิวตรอนอันเป็นจุดจบของดาวมวลมาก และเนื่องจากดาวนิวตรอนส่งสัญญาณออกมาเป็นช่วงๆหรือเป็น “Pulse” จึงเรียกดาวนิวตรอนว่า “Pulsar” (พัลซาร์) แม้ Jocelyn Bell จะเป็นคนแรกที่ค้นพบและวิเคราะห์เกี่ยวกับดาวนิวตรอน…

เปิดแฟ้มวิทยาศาสตร์ เผย!!! แหล่งสร้างเลือดที่ใหม่ของร่างกาย

เปิดแฟ้มวิทยาศาสตร์ เผย!!! แหล่งสร้างเลือดที่ใหม่ของร่างกาย นักวิจัยค้นพบหน้าที่ใหม่ของปอด …. เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า ปอดทำหน้าที่นำออกซิเจนจากอากาศเติมเข้าสู่กระแสเลือดและนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นออกไปจากร่างกาย แต่ล่าสุดผลงานวิจัยจากทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย เอ็มมา เลอฟร็องเซ (Emma Lefrançais) ที่เผยแพร่ผ่านวารสาร Nature เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมานี้ ยืนยันว่าปอดสามารถสร้างเกล็ดเลือดได้ และเป็นแหล่งกักเก็บเซลล์สร้างเม็ดเลือดสำรองของร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเซลล์สร้างเกล็ดเลือดหรือเมกาคาริโอไซต์(megakaryocyte) ในปอดมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีใครคิดว่าการผลิตเกล็ดเลือดจะเกิดขึ้นที่ปอด เอ็มมาและคณะอาศัยเทคนิคทางกล้องจุลทรรศน์สมัยใหม่ส่องดูระบบหลอดเลือดปอดของหนูทดลองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยที่เมกาคาริโอไซต์และเกล็ดเลือดจะเรืองแสงสีเขียวภายใต้กล้องที่บันทึกภาพทุกๆ 1 นาทีเพื่อนำเรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหวความยาว 2 นาที ทีมนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ออกมาได้ว่าปอดสามารถผลิตเกล็ดเลือดได้ในอัตรา 10 ล้านเซลล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมากกว่าที่ผลิตได้จากไขกระดูกเสียอีก! แล้วเซลล์สร้างเกล็ดเลือดเหล่านี้มาจากไหน?  เพื่อตอบคำถามนี้ คณะนักวิจัยได้ปลูกถ่ายปอดของหนูปกติ (เกล็ดเลือดไม่เรืองแสง) ไปยังหนูที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมให้เกล็ดเลือดเรืองแสงได้  สุดท้ายพวกเขาตรวจพบเกล็ดเลือดที่เรืองแสงได้ในปอดหนู นั่นหมายความว่าเซลล์จากไขกระดูกสามารถเดินทางไปยังปอดเพื่อผลิตเกล็ดเลือดได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบเมกาคาริโอไซต์อีกกว่าสองล้านเซลล์ที่อยู่เฉยๆนอกระบบเส้นเลือดภายในปอด ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าเซลล์กลุ่มนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็น “ตัวสำรอง” ในกรณีที่เซลล์สร้างเม็ดเลือดจากไขกระดูกร่อยหรอลงไปเพื่อพิสูจน์สมมติฐานดังกล่าว ทีมนักวิจัยได้ปลูกถ่ายปอดจากหนูปกติไปให้กับหนูที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ปรากฏว่าปอดของหนูเหล่านี้เร่งสร้างเกล็ดเลือดเป็นการใหญ่เพื่อฟื้นฟูปริมาณเกล็ดเลือดให้กลับมาคงเดิม นั่นแปลว่าต่อไปนี้เราอาจใช้เซลล์จากปอดเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้คนนับล้านที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ รวมถึงเข้าใจกลไกการปฏิเสธอวัยวะปลูกถ่ายมากยิ่งขึ้น “การศึกษานี้เปลี่ยนมุมมองที่เคยมีต่อการสร้างเม็ดเลือด ชีววิทยา โรค และการปลูกถ่ายปอดไปโดยสิ้นเชิง” นายแพทย์ Guy A. Zimmerman…

30 สำนวนภาษาอังกฤษ คำสแลงที่มักเจอในชีวิตประจำวัน

30 สำนวนภาษาอังกฤษ คำสแลงที่มักเจอในชีวิตประจำวัน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับภาษาอังกฤษมาฝากเพื่อนๆ กันคะ เป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่มักเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราควรรู้ไว้ เผื่อไว้พูดกับชาวต่างชาติ หรือจะนำไปสนทนากับเพื่อนๆ แค่นี้เราก็ได้คำศัพท์ สำนวนเพิ่มมาอีกตั้งหลายคำเลยนะ 1. “Twenty-four Seven”  สำนวนนี้หมายความว่าอะไร เนื่องจากหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง และหนึ่งอาทิตย์ก็มี 7 วัน สำนวนนี้จึงมีความหมายว่า “ตลอดเวลา ทุกๆนาทีของทุกๆวัน” ค่ะ 2.  “Get the ball rolling” ความหมายของสำนวนนี้ก็คือ “เริ่มทำอะไรสักอย่าง” แค่จำไว้ว่า “Let’s get the ball rolling” ความหมายเท่ากับ “Let’s start now-เราเริ่มกันเถอะ” 3. “Take it easy”  ถ้ามีคนพูดกับคุณว่า “I don’t have any plans this weekend.  I think I’ll…

9 คำศัพท์ที่นิยมใช้ในกลุ่มวัยรุ่น ผลสำรวจวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2560

9 คำศัพท์ที่นิยมใช้ในกลุ่มวัยรุ่น ผลสำรวจวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2560 วันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคม 2560 นี้ กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยผลสำรวจวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2560 ที่ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยคำศัพท์ที่ได้รับความนิยมใช้กันในกลุ่มวัยรุ่นไทยยุค 4.0 ได้แก่ 9 คำศัพท์ที่นิยมใช้ในกลุ่มวัยรุ่น ผลสำรวจวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2560 ลำไย หมายถึง รำคาญ ตะมุตะมิ หมายถึง น่ารักน่าเอ็นดู นก หมายถึง อ่อยแต่เขาไม่เอา จุงเบย หมายถึง น่ารักแสดงความแอ๊บแบ๊ว เท หมายถึง โดนทิ้ง อิอิ หมายถึง เสียงหัวเราะ เปย์ หมายถึง ชอบจ่ายให้ เตง หมายถึง ตัวเอง มุ้งมิ้ง หมายถึง น่ารัก นอกจากนี้ผลสำรวจเรื่องผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านภาษาไทย อันดับ 1 คือสุนทรภู่ รองลงมาเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครูลิลลี่ และนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส่วนปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่ต้องเร่งแก้ไขเรื่องแรกคือการพูด การเขียน และการอ่าน รวมทั้งเรื่องเวลาในการอ่านหนังสือผ่านสื่อต่างๆ นั้น พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 56…

เทคนิคอ่านหนังสือให้แม่นก่อนสอบในเวลาจำกัด

เทคนิคอ่านหนังสือให้แม่นก่อนสอบในเวลาจำกัด เพื่อนๆดูกัน เผื่อว่ากระทันหันไม่มีเวลาอ่าน ขอแค่เวลาแปบเดียวก็จำได้แล้ว ลองดูนะ 1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการ อ่านหนังสือ?ซะก่อนนะจ๊ะ หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก 2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้ 3. พยายามสรุปเรื่องที่เรา อ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น 4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด…

10 TED Talks ที่ดีสำหรับนักการศึกษา

10 TED Talks ที่ดีสำหรับนักการศึกษา TED Talks คือแหล่งแรงบันดาลใจขนาดใหญ่สำหรับคนในวงการการศึกษาที่ต้องการขวัญกำลังใจ เชื้อไฟบทสนทนาที่สำคัญ และมุมมองอันสดใหม่ ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่มี Ted Talks ที่ดีที่สุดหลายบทสำหรับวงการ ข้อความและสารเหล่านี้มีคุณค่าอย่างมากสำหรับนักการศึกษาที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นในตัวนักเรียนของพวกเขา           ภาวะอันตรายของความเงียบงัน (The Danger of Silence) คลินท์ สมิธ กวีและคุณครูกระตุ้นให้ผู้ฟังทุกคนออกมาพูดแสดงจุดยืนต่อต้านภาวะอวิชชาและความอยุติธรรมในสังคม เขาเริ่มต้นสุนทรพจน์ของเขาด้วยคำกล่าวของมาร์ติน ลูเธอร์ คิงจูเนียร์ที่ว่า “ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่พวกเราจะจดจำได้นั้นไม่ใช่คำพูดของศัตรูเรา หากแต่เป็นความเงียบงันของสหายเราต่างหาก” สมิธได้ยกคำกล่าวนี้ให้เป็นหลักสำคัญของห้องเรียนเขา นั่นคือ “จงพูดความจริง” นี่เป็น TED Talk ที่เราควรจะแชร์กับนักเรียนในห้องของเราเพื่อให้พวกเขาเห็นว่าการนิ่งเฉยไม่พูดอะไรนั้นแท้จริงแล้วอันตรายกว่าที่เราคิด เสียงและความคิดเห็นของพวกเขานั้นเป็นสิ่งสำคัญ (รับชมได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=NiKtZgImdlY)            ทำไมแม่ครัวอาหารกลางวันถึงเป็นฮีโร่ (Why Lunch Ladies are Heroes) จาร์เรท โครซอคสกา นักเขียนหนังสือภาพสำหรับเด็กได้เน้นย้ำถึงบทบาทของ “แม่ครัวอาหารกลางวันของโรงเรียน” ในหนังสือของเขาและ TED…

เครื่องขายเรื่องสั้น

เครื่องขายเรื่องสั้น

เครื่องขายเรื่องสั้นแก้เบื่อ สำหรับคนเดินทาง

       ลองจินตนาการดูว่าคุณกำลังรอรถไฟเที่ยวต่อไป ปกติคุณจะยกสมาร์ทโฟนขึ้นมาเพื่อฆ่าเวลา เพื่อรอต่อไปอย่างเบื่อหน่ายไม่มีที่สิ้นสุด

จะดีแค่ไหนถ้าคุณมีวิธีแก้เบื่อที่ดีกว่านั้นล่ะ?
ล่าสุด ‘Short Édition’ บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติฝรั่งเศสได้คิดค้น ‘เครื่องขายเรื่องสั้น’ นอกสถานที่ โดยเริ่มติดตั้งจริงแล้วที่เมืองโกรโนเบลอ ทางตอนใต้ของประเทศ แนวคิดของเครื่องนี้คือการทำให้การรอคอยอันแสนเบื่อหน่ายมีสีสันมากขึ้นด้วยเรื่องสั้นหรือบทความต่างๆ ที่จะถูกพิมพ์ออกมาจากเครื่องดังกล่าว ไม่ต่างจากเครื่องขายของอัตโนมัติทั่วไป
อาจเคยเห็นเครื่องขายหนังสืออัตโนมัติแบบอื่นมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเครื่องขายเรื่องสั้น มันถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบายและคล่องตัวโดยเฉพาะ กระดาษที่ใช้พิมพ์เรื่องสั้นเป็นกระดาษบางม้วนยาว เรื่องสั้นที่คุณได้รับจะมีลักษณะคล้ายใบเสร็จร้านอาหาร เบา บาง กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ และขยำทิ้งได้ง่ายเมื่ออ่านจบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกความยาวของเรื่องสั้นหรือบทความต่างๆ จากเวลาที่คุณมีอยู่ได้อีกด้วย
น่าเสียดายที่เครื่องดังกล่าวมีเพียง 8 เครื่องในปัจจุบัน และทั้งหมดตั้งอยู่ในเมืองโกรโนเบลอตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ในเมืองซึ่งผู้คนมักต้องการตัวช่วยฆ่าเวลาเสมอๆ ตั้งแต่ศาลาว่าการเมือง สำนักงานการท่องเที่ยว ห้องสมุด เป็นต้น
ในระหว่างที่เครื่องขายเรื่องสั้นนี้ยังเดินทางไปไม่ถึงเมืองที่คุณอาศัยอยู่ คุณก็สามารถหยิบเอาแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้เช่นกัน เช่น การชาร์ตแบตเตอรีสมาร์ทโฟนไว้ให้เพียงพอ ดาวน์โหลดเรื่องสั้น วรรณกรรม หรือบทความที่น่าสนใจใส่ไว้ในนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณเบื่อหน่าย ก็แค่หยิบสมาร์ทโฟนของคุณออกมาอ่าน รับรองว่าการฆ่าเวลาของคุณจะเป็นประสบการณ์สนุกสนานและมีความรู้มากกว่าที่เคยเป็นอย่างแน่นอน

แหล่งข้อมูลจาก http://www.huffingtonpost.com/entry/short-story-vending-machine-solves-all-fiction-on-the-go-problems_56537efde4b0258edb32959f?utm_hp_ref=books&ir=Books&section=books

อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร

อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร โดย ซานดร้า แธคเคอร์ (Sandra Thacker), CBS News คุณอาจคิดว่าความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตและความนิยมของอีบุ๊ค (e-book) ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ห้องสมุดหายไปจากโลกใบนี้ แต่กลายเป็นว่าห้องสมุดทั้งหลายแค่แปลงโฉมให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เค็น โรเบิร์ตส์ (Ken Roberts) ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษ์และเทคโนโลยี ได้บรรยายในหัวข้อ ‘อนาคตของหนังสือ’โดยกล่าวถึง ’ยุคเฟื่องฟูของหนังสืออีบุ๊คระรอกที่สอง’ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่หลักๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดแล้ว รวมถึงอีบุ๊คด้วย “เราจะได้เห็นอีบุ๊คออกมาอีกเรื่อยๆ เนื่องจากเผยแพร่ได้ง่าย แค่ผ่านร้านไม่กี่แห่ง และสำนักพิมพ์ก็หาช่องทางขายง่ายกว่าเดิมด้วย” เขาอธิบาย “สำหรับหนังสือแนวสารคดี เนื้อหาจะถูกปรับให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว “นักอ่านรุ่นต่อไปจะอ่านได้ดีขึ้น เพราะตอนนี้อีบุ๊คบางแบบมีสีสันแต่ก็อ่านกลางแจ้งลำบาก บางแบบเป็นเป็นขาวดำ อ่านยากในที่มีแสงน้อย ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นเทคโนโลยีที่มาแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้” แต่ถึงจะมีการปรับให้เข้ากับห้องสมุดอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ โรเบิร์ตส์ยังเชื่อว่าห้องสมุดก็ยังต้องมีหนังสืออยู่แน่นอน “หนังสือจะยังคงมีอยู่ในห้องสมุด เพราะหลายคนก็ยังอยากอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มอยู่” เขากล่าวต่อ “แต่พื้นที่ของห้องสมุดจำนวนหนึ่งจะถูกกันไว้เพื่อกิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วย” ตัวอย่างเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างหนึ่งคือ Makerspaces “แทนที่จะพิมพ์อะไรลงบนกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้เราสามารถพิมพ์วัสดุสามมิติได้” โรเบิร์ตส์อธิบาย แล้วห้องสมุดได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่ โรเบิร์ตส์เป็นบรรณารักษ์มากว่าสี่ทศวรรษกลับบอกว่ามีคนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น “เมื่อวัดจากจำนวนครั้งที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดพบว่ายอดใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 6 ครั้ง เป็นมากกว่า 12 ครั้ง เนื่องจากพวกเบบี้บูมเมอร์พบว่ามีนิยายก็ชอบเข้ามาอ่าน”…

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม นิยามอย่างเป็นทางการของ‘มหานคร’คือเมืองที่มีประชากรสิบล้านคนขึ้นไป แต่หากใช้กฎเกณฑ์นี้เพียงอย่างเดียว กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรก็จะไม่เข้าข่ายการเป็นมหานครนัก เพราะประชากรอย่างเป็นทางการไม่ถึงสิบล้านดี ขณะที่เมืองลาฮอร์ของปากีสถานหรือลากอสของไนจีเรียจะถือว่าเป็นมหานคร เพราะมีประชากรเกินสิบล้านคนไปแล้วแม้จะด้อยพัฒนากว่าและมีนัยยะของความเป็นมหานครน้อยกว่าลอนดอนก็ตาม การพิจารณาว่าเมืองไหนเป็นมหานครหรือไม่จึงมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขประชากรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมหานครคือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยชีวิตและเรื่องราวของผู้คนที่อัดแน่นกันในพื้นที่แค่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ซึ่งให้ความหมายมากมายกว่าตัวเลข มหานครเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การทำลายล้างมากมาย ต่อไปนี้เป็น 10 สุดยอดวรรณกรรมที่มีมหานครสุดสร้างสรรค์เป็นพื้นหลัง เต็มไปด้วยเนื้อเรื่องและตัวละครที่น่าสนใจชวนติดตาม 1. A Tale of Two Cities โดย Charles Dickens ฉากชาวสลัมแย่งกันดื่มไวน์จากถังซึ่งเป็นฉากเปิดของวรรณกรรมเรื่องนี้สามารถบอกคุณได้ทันทีว่าเรากำลังอยู่ในมหานครยักษ์ใหญ่อย่างปารีส ผู้เขียนใช้ตัวหนังสือวาดภาพปารีสยุคก่อนปฏิวัติและลอนดอนยุควิกตอเรียนในเรื่องได้อย่างหนักแน่นและได้อรรถรส แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอยู่บ้างก็ตาม 2. The Bees โดยLaline Paull รังผึ้งมักถูกใช้เป็นอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบมหานครขนาดใหญ่อันแออัดหลายต่อหลายครั้ง แต่ใน The Bees ของ Laline Paull นั้นเป็นเรื่องราวของมหานครในรังผึ้งจริงๆ คุณจะได้ติดตามชีวิตของ ‘Flora 717’ ผึ้งงานระดับต่ำสุดของฝูงที่ต้องออกผจญภัยมากมาย ทั้งที่ในแบบที่คุณคาดถึงและคาดไม่ถึงว่าผึ้งตัวหนึ่งจะสามารถทำได้ 3. Five Star Billionaire โดย Tash Aw…

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน ขณะที่สังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ขับเคลื่อนข้อมูล ข่าวสารตลอดจนความรู้ต่างๆ มากมายมหาศาล เข้าสู่ทุกประตูบ้านผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน นั่นหมายถึงโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ที่กว้างไกลและไร้ขอบเขตมากขึ้น  แต่….ในอีกหลายมุมบนโลกใบนี้  พบว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ขาดโอกาสและหนทางในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่ง “ห้องสมุด” ที่เป็นคลังความรู้ที่จำเป็นด้านการศึกษา นั่นคือ กลุ่มผู้อพยพลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น รวมไปถึงเขตผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ และชุมชนยากไร้ที่กระจายอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน  เจเรมี  ลาชาล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการองค์กรห้องสมุดไร้พรมแดน (Libraries Without Borders – LWB)  จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อกำจัดความไม่เท่าเทียมด้านการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ ด้วยการก้าวข้ามนิยามดั้งเดิมของห้องสมุดและการขยายกรอบที่ห้องสมุดจะเข้าไปมีบทบาทและสร้างนวัตกรรมที่ชื่อว่า Ideas Box เพื่อนำห้องสมุดไปในทุกหนทุกแห่งบนโลก เพื่อมอบโอกาสการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีและสร้างชีวิตใหม่อีกครั้งให้กับพวกเขา จนได้รับรางวัล Google Impact Challenge เมื่อปี 2015 และเพิ่งได้รับรางวัล WISE Awards ประจำปี 2016 จากองค์กรสุดยอดนวัตกรรมโลกด้านการศึกษา (World Innovation Summit for Education) ซึ่งล่าสุดเขาได้นำแนวคิดเรื่อง Ideas…