แผนการศึกษาแบบ Home School ตามข้อกำหนดใหม่ของ ทปอ

          ตลอดเวลาที่ผ่านมาจากประสบการณ์การทำโรงเรียนติวของผม พบว่ามีผู้ปกครองหลายท่านสอบถามแนวทางการให้ลูกได้เรียนแบบ Home School ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เริ่มอายุเท่าไรดี แล้วเลือกอะไรดีระหว่างสาย GED กับ สาย IGCSE-Alevel  ในบทความนี้ผมจะพยายามให้คำตอบเพื่อพอเป็นแนวทางให้ท่านผู้ปกครองที่สนใจส่งบุตรหลานลงในโปรแกรมนี้กันครับ   เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ   จากข้อกำหนดของ ทปอ การที่นักเรียนจะได้ วุฒิ ม.6 จากฟากฝั่งอเมริกัน คือจบ GED ด้วยคะแนนรวมทั้ง 4 วิชา (Math, Science, Social และ RLA) คือ 660 คะแนน  ที่นี้หันมาฟากฝั่งอังกฤษบ้าง ทปอ บอกว่า น้องต้องผ่าน Alevel 3 วิชา ด้วยเกรดแต่ละวิชา A star ถึง E ต่ำสุด โดยประกาศล่าสุด ทปอ ตัด IGCSE…

Update เกณฑ์เทียบวุฒิ ม.6 ฉบับปรับปรุงใหม่

หลังจากนักเรียนและผู้ปกครองพากันบ่น เรื่องเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.6 ด้วย GED ที่เกณฑ์อันเก่าเคี่ยวข้นขนาดต้องให้เด็กระดับยอดกะทิถึงจะผ่านเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้ 165 ทุกวิชาถึงจะผ่านเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.6  ซึ่งในทางปฏิบัติอาจเป็นเกณฑ์ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นไปไม่ได้   มาวันนี้ทีม ทปอ เริ่มใจอ่อน ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์ GED ใหม่ เป็น ให้ทุกวิชาผ่านเกณฑ์ปกติที่  145 แต่คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 660 คะแนน  ดูแล้วผ่อนคลายขึ้น  แต่ถ้าเราลองเอา 660 ตั้ง หารด้วย 4 จะเฉลี่ยวิชาละ 165 อยู่ดี  นั่นหมายความว่า วิชาที่จะต้องทำคะแนนมาชดเชยส่วนนี้คือ math และ science อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ RLA กับ Social ตามสถิติแล้วดูท่าจะยากที่จะอัพคะแนนสองตัวนี้ได้เยอะๆ อย่างไรก็ดีนั่นถือเป็นข่าวดีของชาวสำนัก GED เลยก็ว่าได้ ไม่อึดอัดและกดดันเหมือนก่อนอีกต่อไป แค่ไปเพิ่ม skill ทาง math และ science ให้ดีขึ้นเด็กๆก็น่าจะพอบรรลุเป้าหมายกันได้ แต่หากว่าน้องๆคนใดทำไม่ผ่านเกณฑ์…

เกณฑ์เทียบวุฒิ update สดๆ (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563)

และแล้วเกณฑ์เทียบวุฒิ ปีการศึกษา 2563 ที่ทั้งท่านผู้ปกครอง นักเรียน และเหล่าสถาบันกวดวิชา ที่ต่างก็เฝ้ารอคอยอย่างใจจดใจจ่อนั้น ก็ได้ประกาศออกมาเสียทีจากเว็บไซต์ ทปอ หรือ ชื่อเต็มคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย   หลังจากช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผู้เขียนโทรไปเทียวไล้เทียวขื่อกะเจ้าหน้าที่ที่นั่นว่า เห็นเขาว่าจะเปลี่ยน GED คะแนนขั้นต่ำเป็น 165 จริงไหมเริ่มตั้งแต่เมื่อไร บลา ๆๆ  เจ้าหน้าที่ตอบอย่างฉะฉานชัดเจนกลับมาว่า “จริงค่ะ” ผู้เขียนก็สวนไปนิดๆว่า “กำหนดเกณฑ์แบบนี้ มีแต่เด็กโอลิมปิคมั้งครับที่จะสอบผ่าน” เจ้าหน้าที่ท่านนั้นจึงแอบกระซิบว่า “จริงๆ เขาอยากจะยกเลิก GED ไปหลายทีแล้ว”  ผู้เขียนก็คิดในใจหลายทีของคุณนี้ก็คือร่วมๆ 10 ปีเลยนะที่ได้ยินประโยคนี้ เอาหล่ะไม่เป็นไร ผู้เขียนจึงกระเซ้าต่อ “เอิ่ม.. ผมไม่เห็นเอกสารที่ประกาศออกมาเป็นทางการเลยนี่ครับ เลยนึกว่าข่าวลือ”  “เดี๋ยวสักพักเราจะประกาศไว้ที่เว็บไซต์นะคะ”  หารู้ไม่ว่าหลังจากได้เห็นเอกสารจากทางเว็บไซต์ ทปอ จริงๆ ไม่ใช่แค่ GED ที่เปลี่ยน แต่เป็นทางสาย British IGCSE+Alevel ก็เปลี่ยนด้วย  เรามาดูกันว่าเปลี่ยนเป็นอย่างไรบ้าง      …

ged-course

สำหรับคนที่สอบตก GED บางวิชาควรอ่าน!!!

 โอววว์ หลังจากสถาการณ์โควิด-19 ที่อาละวาดไปทั่วโลกและยังแผลงฤทธิ์ยังไม่เลิกโดยเฉพาะโซนยุโรปและอเมริกาขณะนี้นั้น GED ได้ให้โบนัสพิเศษสำหรับเด็กที่สอบตกในวิชาใดวิชาหนึ่งไป 3 รอบแล้วนั้น นอกจากถูกห้ามสอบวิชานั้นเป็นเวลา 60 วันแล้วนั้น ถ้ากลับมาสอบอีกรอบหลังจากโดนแบน แล้วยังสอบตกอีก(คือไม่ถึง 145 คะแนน จาก 200 คะแนน) คราวนี้โดนแบนทันทีอีก 60 วันไม่ให้แก้ตัวอีกสองครั้งแล้ว ดังนั้นเมื่อน้องๆคิดจะลงสอบครั้งที่ 4  ก็พึงเตรียมตัวให้จงหนักก่อนจะสอบนะครับผม  มันอาจเป็นไปได้บ้างที่เขียนไปขอความกรุณาเป็นพิเศษจาก GED โดยตรงให้สอบก่อนครบกำหนด 60 วันที่โดนแบน แต่ต้องใช้กำลังภายในพอควรและเหตุผลต้องฟังขึ้นสำหรับทางฝั่งเจ้าหน้าที่ GED เลยหล่ะ ขอบอกเลยครับว่าไม่ง่าย   ดังนั้นเตรียมตัวปึ้กๆ ก่อนสอบกันดีกว่าเนอะ!!

Update การเปิดสอบ SAT ในสถานะการณ์ Covid-19

Update ข่าว SAT ด่วน: รายละเอียดการลงทะเบียน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคมนักเรียนต่อไปนี้จะได้รับสิทธิ์การลงทะเบียนสอบก่อนเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อลงทะเบียนสำหรับการสอบรอบเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม: 1. นักเรียนที่เคยลงทะเบียนสำหรับ SAT หรือ SAT Subjects รอบมิถุนายน ซึ่งไม่ได้ยกเลิกการลงทะเบียน 2. นักเรียนในชั้นมัธยมปลายปี 2020 ที่ไม่มีคะแนน SAT 3. นักเรียนในชั้นมัธยมปลายปี 2021 และไม่มีคะแนน SAT ส่วนใครไม่เข้าคุณสมบัติ 3 ข้อนี้สามารถลงทะเบียนสอบได้ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน (ในไทยคือวันที่ 4 มิย) เป็นต้นไป ส่วนรอบสอบเดือน พฤศจิกายน(ในไทยไม่มีรอบนี้)และธันวาคม ลงทะเบียนได้เลยตั้งแต่ 28 พฤษภาคม จัดไปอย่าให้ช้านะครับผม #update #sattestdate #jointeducatoin ข้อความจาก collegeboard.org Registration Details Beginning on May 28, the…

เรียนสดกับเรียนผ่าน Skype ต่างกันไหม

มีคำถามมาบ่อยครั้งมากที่ Joint Education ว่า การเรียนผ่าน skype จะ “work” ไหม, ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร สู้เรียนสดได้ไหม วันนี้ถึงเวลาที่ผมจะต้องมาไขข้อสงสัยกันเสียทีเพื่อท่านผู้ปกครองและน้องๆ ที่ยังกังวลใจและยังสงสัยอยู่กัยเรื่องนี้นะครับ  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการเรียนผ่าน skype เป็นอย่างไร การเรียนผ่าน skype ก็คือการเรียนโดยผู้สอนและนักเรียนต่างก็มีโปรแกรม Skype ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ซึ่งเครื่องรุ่นใหม่โดยเฉพาะโน้ตบุ้คหรือเครื่อง Mac ก็จะมีระบบ microphone และ ลำโพงมาให้อย่างดีแล้ว ดังนั้นแค่ติดตั้งโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้เลย โดยผู้ที่จะใช้งานได้ต้องเข้าไปลงทะเบียนกรอก username + password ก่อน จึงจะใช้งานได้  ที่นี้น้องๆ หรือ ท่านผู้ปกครอง คงจะมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วจะเรียนจะสอนกันอย่างไรหละ แค่ฟังเสียง เห็นหน้ากันไปมาแค่นั้นหรือ?? คำตอบคือไม่ใช่แค่นั้นครับ เดี๋ยวนี้ ซึ่งจริงๆนานมาแล้วที่ว่า skype มี function share screen คุณครูสามารถใช้โปรแกรม PDF ที่สามารถเขียนทดเลข แสดงวิธีทำ หรือเขียนอธิบาย ด้วย…

CU inter

มาแล้วจ้า! กำหนดการรับสมัครหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ ปี2561

มาแล้วจ้า! กำหนดการรับสมัครหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ ปี2561 หลังจากการประกาศการใช้ TCAS หรือระบบการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2561 และหลักสูตรอินเตอร์ต้องเข้าร่วมด้วย ทำให้หลายๆคนสงสัยว่าจะมีการรับสมัครเมื่อไร สมัครกี่รอบ ฯลฯ วันนี้มาดูสรุป Timeline ในการรับสมัครของหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯกันครับ CU Inter Program Admissions for Academic Year 2018 Round1 1/1 : 1 OCT – 30 NOV 1/2 : 22 DEC – 28 FEB BBA          80 BALAC     60 EBA          75 Round2…

learn inter

จะเรียนหลักสูตรอินเตอร์ต้องทำอย่างไร

จะเรียนหลักสูตรอินเตอร์ต้องทำอย่างไร ในที่นี้จะขอสรุปคุณสมบัติที่ผู้สมัครจะต้องมีในการเข้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยซึ่งโดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติไว้ 3 ข้อดังนี้ จบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า (High School Equivalency)  ซึ่งคุณสมบัตินี้เหมือนกับการสมัครเรียนในหลักสูตร ภาษาไทย คำว่า “เทียบเท่า” หมายถึงหากผู้สมัครมีวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการยอมรับว่าเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมปลายของไทย เช่น IGCSE, A-Level, GED หรือ IB Diploma ก็สามารถนำไปยื่นได้ ส่วนนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นสูงสุด เช่น ม.6 หากวันที่หลักสูตรเปิดรับสมัครยังไม่มีใบผลคะแนนออกมา (เนื่องจากยังไม่ปิดเทอม) ให้ใช้ผลคะแนน 5 เทอมในระดับม.ปลายยื่นไปก่อนได้ ผ่านการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ (English Proficiency)  เนื่องจากการเรียนหลักสูตรอินเตอร์ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นผู้สมัครจึงต้องแสดงความสามารถในส่วนนี้ให้เห็น บางหลักสูตรอาจมีการจัดสอบภาษาอังกฤษเอง บางหลักสูตรอนุญาตให้ผู้สมัครยื่นผลสอบภาษาอังกฤษที่เป็นที่นิยม เช่น TOEFL, IELTS, CU-TEP หรือ TU-GET ผ่านการทดสอบวิชาพื้นฐานและ/หรือวิชาเฉพาะ (Standardized Test)  นอกจากสอบวิชาภาษาอังกฤษแล้ว หลักสูตรหลายๆหลักสูตรยังต้องการให้ผู้สมัครสอบวิชาพื้นฐานซึ่งมักจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์เพื่อทดสอบว่าผู้สมัครมีไหวพริบและทักษะการแก้ปัญหาดีหรือไม่ ข้อสอบในกลุ่มนี้ก็เช่น SAT หรือ CU-AAT นอกจากนี้ในบางหลักสูตรอาจมีการขอให้สอบวิชาเฉพาะทาง เช่น ฟิสิกส์ (สำหรับหลักสูตรทางวิศวกรรมศาสตร์) หรือการ Drawing (สำหรับหลักสูตรทางสถาปัตยกรรมศาสตร์) หรือในบางกรณีคือหลักสูตรนั้นๆอาจมีการออกข้อสอบเองก็เป็นได้ การสมัครเรียนหลักสูตรอินเตอร์นั้น…