6 วิธีเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ

1 ฝึกภาษาอังกฤษเข้าไว้

ถ้าบ้านของน้องส่งไปเอง ออกค่าใช้จ่ายเอง ยังไงน้องก็มีโอกาสได้ได้อยู่แล้วค่ะ พูดตรงๆ แบบไม่อ้อมค้อมเลยว่า “เงิน” สามารถ ช่วยจัดการหลายๆ อย่างได้(ในระดับนึง) เช่น น้องสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในเมืองนอกไปโดยจะออกเงินเอง ไม่ได้ขอทุน โดยที่มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษพวก TOEFL หรือ IELTS ไม่ค่อยดีนัก มหาวิทยาลัยเขาจะ?ยังไม่ปฏิเสธน้องทีเดียวเลยหรอกค่ะ แต่เขาจะยื่นข้อเสนอหรือ offer มาก่อนว่า “จะรับเข้าเรียนโดยต้องไปสอบ TOEFL หรือ IELTS ใหม่อีกรอบให้ผ่านตามคะแนนที่กำหนด”?ดังนั้นหากเราไปสอบมาใหม่ให้ได้คะแนนดีขึ้น จ่ายค่าเทอม แค่นี้ก็ได้ไปเรียนแล้วหรือในอีกกรณี

หากน้องสมัครเรียนผ่านเอเจนซี่ ไม่มีเอเจนซี่ที่ไหนตอกกลับมาหรอกว่า?”โอ๊ย ภาษาไม่ดี ไปเรียนนอกไม่ได้หรอกค่าาาา” เพราะเท่ากับว่าเอเจนซี่นั้นจะเสียลูกค้าไปแน่ๆ แต่เอเจนซี่จะช่วยหาโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้มีเงื่อนไขสูงมากนัก?ที่พอจะรับค

นที่ไม่เก่งภาษามากเข้าไปเรียนได้ เพราะยังไงเอเจนซี่ก็ต้องรักษาฐานลูกค้าไว้ก่อนค่ะ

– ถ้าน้องจะสมัครทุนหรือสอบชิงทุน ขอตอบเลยว่า “ไม่น่ารอดค่ะ” ทุนมีให้สำหรับคนที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งคำว่า “เหมาะสมที่สุด” นั้น ก็รวมไปถึงความเก่งทางวิชาการและรวมถึงภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งจะสะท้อนผ่านคะแนน TOEFL หรือ IELTS ที่เราต้องใช้ยื่นเพื่อสมัครทุน บอกเลยว่า TOEFL หรือ IELTS นี่ไม่ง่ายค่ะ บางคนต้องติวเป็นปีก่อนไปสอบเลยนะ ดังนั้นใครไม่เก่งภาษาอังกฤษ พี่ว่าจะไปสมัครทุนหรือสอบชิงทุนนี่โอกาสได้น้อยมากๆ

2 ต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ

คะแนนที่ว่านั้นก็คือ TOEFL หรือ IELTS ที่เขียนไว้แล้วในข้อแรกนั่นเอง หลายๆ คนอาจจะยังงงๆ ว่าคืออะไร?

– TOEFL(อ่านว่า โทเฟิล) และ IELTS (อ่านว่า ไอเอลท์) เป็นผลทดสอบ?ภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก มหาวิทยาลัยที่ไหนๆ ในโลกก็ยอมรับคะแนนพวกนี้ ดังนั้นน้องๆ ที่คิดจะโกอินเตอร์แน่นอน “ต้องสอบเก็บไว้”

– TOEFL มีการสอบหลายแบบ เช่น สอบด้วยคอมพิวเตอร์ สอบด้วยกระดาษ แต่วิธีที่นิยมที่สุดในปัจจุบันคือสอบด้วยอินเตอร์เน็ต เราเรียกว่า TOEFL iBT โดยมีคะแนนเต็มที่ 120 คะแนน มหาวิทยาลัยส่วนมากมักกำหนดที่ 70 คะแนนขึ้นไป แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยดังระดับโลก จะเรียกที่ 100 คะแนนขึ้นไปค่ะ สำหรับคนที่คิดจะสอบไว้สมัครทุนต่างๆ พี่ว่าควรได้อย่างต่ำที่ 80 ขึ้นไปนะ

สามารถสมัครสอบได้ที่ www.toefl.org หรือ?ผ่านเอเจนซี่ต่างๆ ที่เป็นตัวแทนรับสมัคร ค่าสอบอยู่ที่ 160 USD (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน) คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 5 พันบาทค่ะ

– ส่วน IELTS มีคะแนนเต็มที่ 9.0 มหาวิทยาลัยทั่วไปจะเรียกที่ 5.5 คะแนนขึ้นไป แต่ถ้ามหาวิทยาลัยดังๆ ก็จะกำหนดไว้ที่ 7.0 ค่ะ สำหรับคนที่คิดจะสอบไว้สมัครทุนต่างๆ ควรได้ 6.0 ขึ้นไป สามารถสมัครสอบได้ที่ British Council ค่าสอบอยู่ที่ประมาณ 6 พันกว่าบาทค่ะ

– ทั้ง TOEFL และ IELTS ข้อสอบจะมี 4 พาร์ทคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดย?น้องต้องปึ๊กทั้ง 4 พาร์ท จะเก่งพูดแต่ไม่เก่งอ่านก็ไม่ได้ เพราะบางมหาวิทยาลัยก็จะมีเงื่อนไขคะแนนด้วย เช่น คะแนนสอบ IELTS แต่ละส่วนจะมีคะแนนเต็มที่ 9.0 จากนั้นจะนำมาหาร 4 เพื่อสรุปเป็นคะแนนตัวจริง

แต่บางมหาวิทยาลัยก็จะกำหนดว่า คะแนน IELTS ต้องได้ 6.5 ขึ้นไป โดยไม่มีพาร์ทไหนได้ต่ำกว่า 6.0 ดังนั้นต่อให้บางคนได้่พาร์ทการพูด การเขียน การฟังเต็ม 9.0 แต่ได้พาร์ทอ่านแค่ 5.0 แบบนี้ก็ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์มหาวิทยาลัยนั้นค่ะ (โหดมั้ยล่ะนั่น)

– คะแนนจะเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี ส่วนมากจัดสอบเดือนละ 2-4 ครั้ง ผลสอบจะออกหลังสอบประมาณ 2 สัปดาห์

– คนส่วนมากนิยมไปสมัครคอร์สติว TOEFL หรือ IELTS ก่อนสอบ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าค่อนข้างยาก ค่าสอบก็แพง ดังนั้นบางคนจึงยอมจ่ายแพงเสียเงินไปติวเพื่อความชัวร์ สอบทีเดียวจะได้ผ่านเลย

– แล้วจะเลือกสอบอะไรดี? ถ้าน้องคิดจะไปเรียนที่อเมริกา ควรสอบ TOEFL ค่ะ แต่หากจะไปแถบยุโรปหรือออสเตรเลีย ควรสอบ IELTS เพราะจะเป็นที่นิยมมากกว่า

3 สอบวัดระดับภาษาอื่นๆที่จำเป็น

น้องๆ ที่คิดจะไปเรียนต่อในประเทศที่ใช้ภาษาที่ 3 ต้องอ่านไว้ค่ะ โดยเฉพาะเกาหลี จีน ญี่ปุ่น น้องๆ ควรไปสอบวัดระดับภาษาเกาหลีนั้นๆ เก็บไว้ เพราะบางทุนกำหนดว่า “ต้องมีคะแนนวัดระดับของภาษานั้นๆ” ประกอบในการยื่นสมัครด้วย หรือบางทุนไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ทุนนั้นๆ มักจะลงท้ายว่า ” ผู้ที่มีผลคะแนนวัดระดับของภาษานั้นๆจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ” แล้วแบบนี้จะไม่ไปสอบเก็บไว้ได้ยังไงล่ะ?

ตัวอย่าง ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ( ปริญญาตรี ) กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไว้ว่าต้องเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

– มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.80 ขึ้นไป
– มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.30 ขึ้นไปและมีผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ 1 หรือ 2
– มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไปและมีผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ 3 หรือ 4

น้องๆ หลายคนที่เกรดไม่ถึง 3.80 ก็ต้องชวดทุนนี้ไปอย่างน่าเสียดายมากกกก แหม?ถ้ามีผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นไปยื่นด้วยก็สบายเลย น่าเสียดายมากค่ะ นี่คือตัวอย่างว่าทำไมเราถึงควรไปสอบวัดระดับภาษานั้นๆ เก็บเอาไว้

– การสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) จัดสอบปีละ 2 ครั้ง กลางปีและปลายปี สมัครได้ที่ มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง สำนักงานกรุงเทพ

– การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) จัดสอบปีละ 2 ครั้ง กรกฎาคมและธันวาคม สมัครได้ที่ โรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น

– การสอบวัดระดับภาษาเกาหลี (TOPIK) จัดสอบปีละครั้ง ตุลาคม สมัครได้ที่ โรงเรียนนานาชาติเกาหลี

นั่นก็คือกำหนดการการสอบคร่าวๆ นะคะ ขอย้ำเลยว่าควรต้องสอบเก็บไว้และติดตามข่าวให้ดีว่าเขาจะเปิดรับสมัครเมื่อไหร่ อย่างก่อนหน้านี้มีน้องๆ มาถามพี่บ่อยมากว่า สอบวัดระดับเกาหลีเมื่อไหร่? ทั้งๆ ที่มันเพิ่งจะสอบเสร็จไปไม่นานนี้เอง T^T ดังนั้นต้องติดตามให้ดีๆ ค่ะ

4 เตรียมเอกสารให้พร้อม

มาถึงหมวดเอกสารบ้าง เอกสารที่ใช้ในการสมัครทุนต่างๆ นั้นมีเยอะทีเดียวค่ะ ?เอกสารที่ต้องขอจากโรงเรียน

– ใบแสดงผลการศึกษา หรือเรียกง่ายๆ ว่าทรานสคริปต์ คือใบที่จะบอกว่าเกรดแต่ละวิชาในแต่ละระดับชั้นที่ผ่านมา เราได้เท่าไหร่บ้าง หรือใบปพ.1 นั่นเองค่ะ

– ใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียนหรือใบรับรองการจบการศึกษา คือใบที่ทางโรงเรียนจะรับรองว่า เรานี่แหละมีสภาพเป็นนักเรียนของโรงเรียนนี้จริงๆ หรือหากน้องเพิ่งเรียนจบมา มันก็จะกลายเป็นใบที่รับรองว่าเราจบการศึกษาจากโรงเรียนนี้จริงๆ นะ

เอกสารทั้ง 2 ใบนี้สำคัญมากกกกค่ะ น้องสามารถขอได้จากฝ่ายทะเบียนของโรงเรียน และควรขอเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ(ถ้าโรงเรียนสามารถทำให้ได้)

คำแนะนำคือ ให้น้องขอไว้ทีเดียวอย่างละ 5-6 ใบเลยค่ะ เพราะบางทีเกิดอาการหลายใจ ทุนนั้นก็น่าสมัคร ทุนนี้ก็น่าสนใจ เราจะได้ไม่ต้องกลับไปขอใหม่บ่อยๆ เสียเวลาเปล่าๆ ให้ขอมาทีเดียวเยอะๆๆ เลยค่ะ ขอเป็นสิบใบเลยก็ได้ นอกจากนี้ อย่างที่บอกไปแล้วว่าบางทุนเปิดให้สมัครแค่ 2 สัปดาห์ แล้วดันตรงกับช่วงปิดเทอมพอดี แย่เลย เพราะบางโรงเรียนก็ดำเนินการช้ามาก ใช้เวลาทีเป็นสัปดาห์กว่าจะเสร็จ ดังนั้นน้องควรไปขอมาตุนไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ

เอกสารที่เป็นของเราเอง

– สูติบัตร หรือใบรับรองการเกิด หลายคนคงสงสัยว่าทำไมพวกทุนการศึกษาถึงต้องขอใบนี้ด้วย?? คำตอบก็คือ เขาขอเพื่อไปดู “ความสัมพันธ์ระหว่างเราและบิดามารดา” ว่าพ่อแม่เราชื่อนี้จริงๆ มั้ย พ่อแม่เราสัญชาติไทยจริงๆ หรือเปล่า ดังนั้นสูติบัตรเป็นอีกใบที่ต้องใช้ค่ะ หากของใครอยู่ในสภาพที่เน่ามาก น้องๆ สามารถไปขอคัดสำเนาสูติบัตรได้ที่สำนักงานเขตค่ะ

– ทะเบียนบ้าน ส่วนมากจะใช้หน้าที่มีชื่อเรานั่นเอง

– หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต บางทุนกำหนดว่าผู้สมัครต้องส่งสำเนาพาสปอร์ตไป
ให้ดูด้วย เพื่อดูว่าเรามีสัญชาติไทยจริงๆ มั้ย แต่หากใครไม่มีพาสปอร์ตจริงๆ อาจจะใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแทนได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้ก็เป็นภาษาอังกฤษกันหมดแล้วเนาะ

เอกสารที่ต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ

เอาล่ะ เตรียมเอกสารสำคัญกันในมือครบแล้ว เอ๊ะ เอกสารที่เรามีมันเป็นภาษาไทยหมดเลย ทำไงดี?? แน่นอนค่ะว่า ทางทุนเค้าอ่านไม่ออกแน่ๆ ดังนั้นเราจึงต้องนำเอกสารทั้งหมดไปแปลเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

– น้องๆ ควรนำไปแปลตามร้านรับแปลเอกสารต่างๆ หาได้ทั่วไปตามริมถนน ใช้เวลา 1-2 วันเท่านั้น เอกสารที่ควรนำไปแปลคือ เอกสารที่ต้องเน้นความแม่นยำและถูกต้อง แบบว่า?แปลผิดไม่ได้เด็ดขาด นั่นก็คือเอกสารราชการค่ะ เช่น ใบสูติบัตร ใบทะเบียนบ้าน (ไม่แนะนำให้แปลเองนะคะ เพราะแปลผิดขึ้นมาเดี๋ยวจะยุ่ง) ใช้เวลาแปล 2-3 วัน ค่าแปลหน้าละประมาณ 300 บาท

– เมื่อแปลเสร็จเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมาแล้ว ต้องมีการรับรองว่าเอกสารที่แปลนั้นถูกต้อง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมการกงสุล น้องๆ สามารถอ่านวิธีการยื่นคำร้องรับรองเอกสารได้ที่นี่ค่ะ คลิกเลย ซึ่งหากน้องเกิดแปลเองและแปลผิด ทางกรมการกงสุลจะติดต่อกลับมาว่าแปลผิดนะ ใช้ไม่ได้ ซึ่งก็จะยิ่งเสียเวลามากขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงควรให้ร้านรับแปลเอกสารแปลให้แต่แรกน่าจะดีกว่าค่ะ

– ส่วนเอกสารอื่นๆ เช่น ใบแสดงผลการศึกษา ใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียน หากโรงเรียนไม่สามารถออกเป็นภาษาอังกฤษได้จริงๆ (แย่จัง) น้องก็ควรนำไปให้ร้านรับแปลเอกสารแปลเหมือนกันค่ะ แต่ไม่ต้องนำไปรับรองที่กรมการกงสุลนะคะ (แต่พี่ก็เห็นมีน้องๆ บางคนลองแปลเองเหมือนกันนะ)

– พอร์ตฟอลิโอ หรือ ใบประกาศนียบัตร ที่เคยได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่ซีเรียสค่ะ แปลเองได้โลด ไม่ต้องไปจ้างร้านรับแปลเอกสารก็ได้ค่ะ

5 คิดดีๆอยากเรียนที่ไหน

หากเป็นทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย เราคงไม่ต้องคิดมาก เพราะหากได้ทุนมา ก็ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้นอยู่แล้ว

แต่สำหรับทุนรัฐบาลของประเทศต่างๆ เช่น ทุนรัฐบาลเกาหลี ทุนรัฐบาลจีน ทุน 1 อำเภอ 1 ทุน เราสามารถเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเรียนเองได้ค่ะ ซึ่งก็จะมีคำถามตามมา “พี่คะ หนูอยากเรียนด้านการเงินที่จีน มหาวิทยาลัยไหนดีและดังบ้าง?”

สิ่งที่จะช่วยตอบโจทย์ตัวนี้ให้เราได้ก็คือ RANKING หรือการจัดอันดับค่ะ น้องๆ สามารถค้นหาจากกูเกิ้ลได้ไม่ยาก เช่น “TOP FINANCE PROGRAM IN CHINA” เพียงเท่านี้ กูเกิ้ลก็จะช่วยหาคำตอบให้เราได้แล้วค่ะ ดังนั้นน้องๆ ควรศึกษาล่วงหน้าไว้บ้างว่า สาขาที่เราอยากเรียนนั้นมีที่ใดดังบ้าง จะได้มีเป้าหมายมากขึ้นว่าเราอยากเรียนต่อในมหาวิทยาลัยไหน

6 ทุนที่อยากได้

ตอนนี้ทุนเรียนต่อนอกก็มีเยอะแยะมากมาย บางทุนเราอาจจะไม่รู้จัก น้องๆก็ต้องคอยติดตามข่าวสาร เรียนต่อนอก ให้ดีๆนะคะ เช่น?โปรแกรมค้นหาทุนเรียนต่อนอกสามารถค้นหาได้แล้วว่ามีทุนให้เรียนในสาขาหรือประเทศที่เราต้องการหรือเปล่า