วันนี้พี่ๆ JointEducation อยากจะมาแชร์เรื่องราวบทความเกี่ยวกับการสอบ GED และเครื่องมือนึงที่สำคัญมากซึ่งเป็นตัวช่วยในการเตรียมสอบ GED นั่นก็คือ GED Ready โดยปกติ GED จะถูกใช้เป็นวุฒิเทียบจบม.6 และนำไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง จุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งเกณฑ์ ณ ปัจจุบันของทางมหาวิทยาลัยบางแห่ง ก็มีการปรับคะแนน GED เพิ่มขึ้น ซึ่งในปีล่าสุด ทาง GED กำหนดว่า ก่อนจะทำข้อสอบ GED ได้นั้น น้องๆจะต้องสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อนค่ะ ถ้าอยากรู้ว่า GED Ready คืออะไร ไปอ่านพร้อมๆ กันเลยค่า
GED Ready คืออะไร? แตกต่างจาก GED ปกติอย่างไร?
เริ่มแรกน้องๆต้องเข้าใจก่อนว่า GED (General Educational Development) คือระบบสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ซึ่งเป็นหลักสูตรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย และ GED Ready จริงๆแล้วคืออะไร GED Ready คือ แบบทดสอบเสมือนจริงของ GED Official ซึ่งใครก็ตามที่สมัครสอบ GED ทางระบบจะบังคับให้น้องๆทำข้อสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อนสอบจริงซึ่งจะประกอบไปทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่
- Reasoning Through Language Arts (ภาษาอังกฤษ) จำกัดเวลา 150 นาที
- Science (วิทยาศาสตร์) จำกัดเวลา 90 นาที
- Social Studies (สังคมศาสตร์) จำกัดเวลา 70 นาที
- Mathematical Reasoning (คณิตศาสตร์) จำกัดเวลา 115 นาที
ซึ่งในแต่ละวิชานั้นจะมีทั้งหมด 30 – 50 คำถามมีคะแนนเต็ม 200 คะแนนและคะแนนที่จะผ่านเกณฑ์ต้องได้ 155 คะแนนขึ้นไปถึงจะผ่าน
น้องๆสามารถเข้าทดสอบจริงผ่านหน้าเว็บไซด์ของ GED ได้เลยตามลิ้งก์นี้เลย >>>> https://ged.com/study/ged_ready/
GED Passing Score มี 3 ระดับ
ในส่วนของเกณฑ์คะแนนของ GED นั้นมีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ Passing Score, College Ready, College Ready + Credit ซึ่งเกณฑ์ที่น้องๆจะใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยกำหนด ตั้งแต่ 145-165 ขึ้น และคนที่สอบไปแล้วแล้วได้คะแนน 145 แล้วจะทำอย่างไรกับคะแนนได้บ้างสำหรับประเด็นที่เกิดขึ้นจะแบบออกได้ 2 อย่างคือ
- เกณฑ์คะแนน 145 คะแนนคือเกณฑ์สำหรับการได้รับวุฒิเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หมายความว่าถ้าน้องๆ ที่สอบทั้ง4วิชาแล้วได้แต่ละวิชา 145 หรือเกินกว่าทาง GED จะออกใบวุฒิ และ ทรานสคริปต์ ให้และวุฒินี้จะนับว่าน้องๆได้จบการศึกษาตอนปลายแล้ว สามารถเก็บไว้ได้ตอดชีวิต
- และอีกเกณฑ์นึงคือ 145 คะแนนขึ้นไป และคะแนนนี่ที่ปรับมาเป็นเกณฑ์กลางที่จะใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย แต่ทั้งนี้คะแนนที่จะใช้ยื่นก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย
นอกจากนี้หลังจากน้องๆรู้คะแนนของตัวน้องๆเองที่สอบ GED มาแล้วและในเว็บที่เราได้ผลสอบเรายังสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนของเราที่สอบไปได้ด้วยและสามารถให้คำแนะนำสำหรับการสอบต่อไปให้ได้คะแนนที่ดีขึ้น มีทั้งหนังสือแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมด้วยนะ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับตัวน้องๆให้สามารถเข้าประเด็นได้ตรงจุดมากขึ้น
4 Steps สำหรับการใช้ GED Ready
Step 1: ต่อมาคือสิ่งที่น้องๆ ควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานของ Get Ready ซึ่งไม่ได้ยากด้วยเริ่มต้นเลยคือเข้าไปหน้าเว็บของทาง GED official และเลือกหัวข้อที่เขียนว่า How to Graduate
Step 2: ต่อมาคือการทำ GED Mock Exam ให้ไปคลิกที่ “Take the mock exam” ได้เลยหรือจะกดจากลิ้งก์นี้ได้เลย https://ged.com/en/how-to-graduate/ged_ready/
Step 3: สำหรับการทำ GED Ready น้องๆจะต้องสมัครและใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยเป็นอันดับแรกก่อนจึงจะล๊อคอินและ เสียเงินในการทำการทดสอบ อยู่ที่ประมาณ 180 บาท และถ้าสมัครแล้วน้องๆดันลืมรหัสเข้าให้น้องๆส่งอีเมล์ไปแจ้งเพื่อสอบถามขั้นตอนแก้ปัญหาอย่างถูกต้องจาก GED ที่ help@ged.com
Step 4: น้องๆเลือกซื้อรายวิชา แล้วถึงจะไปชำระเงิน และเมื่อซื้อเสร็จแล้วสามารถเข้าไปทำข้อสอบได้เลย หรือจะค่อยทำในเวลาที่สะดวกก็ได้เช่นกัน ข้อสอบชุดที่ซื้อจะมีระยะเวลาในการเก็บได้ประมาณ 1 ปี
เงื่อนไขการสอบใหม่กับทาง GED
สำหรับน้องที่รู้สึกว่าคะแนนตัวเองยังไม่เป็นที่พอใจแล้วอยากจะสอบใหม่ ทาง GED นั้นมีนโยบายของการขอสอบใหม่กับทาง GED ผู้สอบจะไม่มีสิทธิ์ในการสอบใหม่หากคะแนนของ GED Passing Score (155/200) แล้วแต่จะยกเว้นในบางกรณีซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้ที่ยื่นขอร้องไปทาง GED จะสามารถสอบใหม่ได้ทุกคน ซึ่งการยื่นคำร้องขอสอบใหม่จะมีดังต่อไปนี้
- ชื่อ – นามสกุล (Your first and last name)
- วันเดือนปีเกิด (Date of birth)
- วิชาที่ต้องการขอสอบใหม่ (Subject retest)
- ผลคะแนนที่สอบได้ (Passing score)
- วันเข้าทำ GED Ready ของวิชานั้นล่าสุด (Date of most recent GED Ready)
- คะแนนล่าสุดที่ได้จาก GED Ready (Score on most recent GED Ready)
- เหตุผลที่ต้องการขอสอบใหม่อีกครั้ง (Explanation for why you need to test again)
- สถาบันการศึกษาที่จะใช้ GED ยื่นเข้า (The institution you intend to submit your new score to)
- ข้อมูลสำหรับการติดต่อของสถาบันการศึกษาที่จะใช้ GED ยื่นเข้า (The contact information for the institution)
การส่งคำร้องขอสอบใหม่ไม่การันตีว่าผู้ยื่นจะสามารถสอบใหม่ได้ หรือถ้าได้สอบจะได้สอบเพียงครั้งเดียว นั่นก็คือยื่นวิชาไหนจะได้สอบวิชานั้นครั้งเดียว
สนใจรายละเอียด คอร์ส GED เพิ่มเติม Click ที่นี่
สำหรับใครที่ได้ติดตาม JointEdu มาน้องๆก็จะเห็นว่าทาง JointEdu ก็มีคอร์สให้น้องได้ฝึกฝนวิชาต่างๆที่อยู่ใน GED เช่นเดียวกันครบครันทั้งเนื้อหน้า เข้มข้น กระชับ ปูพื้นฐานและค่อยเจาะลึกลงแต่ละรายวิชาเพื่อเสริมความมั่นใจให้กับน้องๆที่จะนำความรู้ไปใช้ต่อในมหาลัยได้เลยนะ