อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร

อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร โดย ซานดร้า แธคเคอร์ (Sandra Thacker), CBS News คุณอาจคิดว่าความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตและความนิยมของอีบุ๊ค (e-book) ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ห้องสมุดหายไปจากโลกใบนี้ แต่กลายเป็นว่าห้องสมุดทั้งหลายแค่แปลงโฉมให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เค็น โรเบิร์ตส์ (Ken Roberts) ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษ์และเทคโนโลยี ได้บรรยายในหัวข้อ ‘อนาคตของหนังสือ’โดยกล่าวถึง ’ยุคเฟื่องฟูของหนังสืออีบุ๊คระรอกที่สอง’ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่หลักๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดแล้ว รวมถึงอีบุ๊คด้วย “เราจะได้เห็นอีบุ๊คออกมาอีกเรื่อยๆ เนื่องจากเผยแพร่ได้ง่าย แค่ผ่านร้านไม่กี่แห่ง และสำนักพิมพ์ก็หาช่องทางขายง่ายกว่าเดิมด้วย” เขาอธิบาย “สำหรับหนังสือแนวสารคดี เนื้อหาจะถูกปรับให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว “นักอ่านรุ่นต่อไปจะอ่านได้ดีขึ้น เพราะตอนนี้อีบุ๊คบางแบบมีสีสันแต่ก็อ่านกลางแจ้งลำบาก บางแบบเป็นเป็นขาวดำ อ่านยากในที่มีแสงน้อย ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นเทคโนโลยีที่มาแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้” แต่ถึงจะมีการปรับให้เข้ากับห้องสมุดอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ โรเบิร์ตส์ยังเชื่อว่าห้องสมุดก็ยังต้องมีหนังสืออยู่แน่นอน “หนังสือจะยังคงมีอยู่ในห้องสมุด เพราะหลายคนก็ยังอยากอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มอยู่” เขากล่าวต่อ “แต่พื้นที่ของห้องสมุดจำนวนหนึ่งจะถูกกันไว้เพื่อกิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วย” ตัวอย่างเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างหนึ่งคือ Makerspaces “แทนที่จะพิมพ์อะไรลงบนกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้เราสามารถพิมพ์วัสดุสามมิติได้” โรเบิร์ตส์อธิบาย แล้วห้องสมุดได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่ โรเบิร์ตส์เป็นบรรณารักษ์มากว่าสี่ทศวรรษกลับบอกว่ามีคนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น “เมื่อวัดจากจำนวนครั้งที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดพบว่ายอดใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 6 ครั้ง เป็นมากกว่า 12 ครั้ง เนื่องจากพวกเบบี้บูมเมอร์พบว่ามีนิยายก็ชอบเข้ามาอ่าน”…

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม นิยามอย่างเป็นทางการของ‘มหานคร’คือเมืองที่มีประชากรสิบล้านคนขึ้นไป แต่หากใช้กฎเกณฑ์นี้เพียงอย่างเดียว กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรก็จะไม่เข้าข่ายการเป็นมหานครนัก เพราะประชากรอย่างเป็นทางการไม่ถึงสิบล้านดี ขณะที่เมืองลาฮอร์ของปากีสถานหรือลากอสของไนจีเรียจะถือว่าเป็นมหานคร เพราะมีประชากรเกินสิบล้านคนไปแล้วแม้จะด้อยพัฒนากว่าและมีนัยยะของความเป็นมหานครน้อยกว่าลอนดอนก็ตาม การพิจารณาว่าเมืองไหนเป็นมหานครหรือไม่จึงมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขประชากรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมหานครคือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยชีวิตและเรื่องราวของผู้คนที่อัดแน่นกันในพื้นที่แค่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ซึ่งให้ความหมายมากมายกว่าตัวเลข มหานครเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การทำลายล้างมากมาย ต่อไปนี้เป็น 10 สุดยอดวรรณกรรมที่มีมหานครสุดสร้างสรรค์เป็นพื้นหลัง เต็มไปด้วยเนื้อเรื่องและตัวละครที่น่าสนใจชวนติดตาม 1. A Tale of Two Cities โดย Charles Dickens ฉากชาวสลัมแย่งกันดื่มไวน์จากถังซึ่งเป็นฉากเปิดของวรรณกรรมเรื่องนี้สามารถบอกคุณได้ทันทีว่าเรากำลังอยู่ในมหานครยักษ์ใหญ่อย่างปารีส ผู้เขียนใช้ตัวหนังสือวาดภาพปารีสยุคก่อนปฏิวัติและลอนดอนยุควิกตอเรียนในเรื่องได้อย่างหนักแน่นและได้อรรถรส แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอยู่บ้างก็ตาม 2. The Bees โดยLaline Paull รังผึ้งมักถูกใช้เป็นอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบมหานครขนาดใหญ่อันแออัดหลายต่อหลายครั้ง แต่ใน The Bees ของ Laline Paull นั้นเป็นเรื่องราวของมหานครในรังผึ้งจริงๆ คุณจะได้ติดตามชีวิตของ ‘Flora 717’ ผึ้งงานระดับต่ำสุดของฝูงที่ต้องออกผจญภัยมากมาย ทั้งที่ในแบบที่คุณคาดถึงและคาดไม่ถึงว่าผึ้งตัวหนึ่งจะสามารถทำได้ 3. Five Star Billionaire โดย Tash Aw…

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน ขณะที่สังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ขับเคลื่อนข้อมูล ข่าวสารตลอดจนความรู้ต่างๆ มากมายมหาศาล เข้าสู่ทุกประตูบ้านผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน นั่นหมายถึงโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ที่กว้างไกลและไร้ขอบเขตมากขึ้น  แต่….ในอีกหลายมุมบนโลกใบนี้  พบว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ขาดโอกาสและหนทางในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่ง “ห้องสมุด” ที่เป็นคลังความรู้ที่จำเป็นด้านการศึกษา นั่นคือ กลุ่มผู้อพยพลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น รวมไปถึงเขตผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ และชุมชนยากไร้ที่กระจายอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน  เจเรมี  ลาชาล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการองค์กรห้องสมุดไร้พรมแดน (Libraries Without Borders – LWB)  จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อกำจัดความไม่เท่าเทียมด้านการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ ด้วยการก้าวข้ามนิยามดั้งเดิมของห้องสมุดและการขยายกรอบที่ห้องสมุดจะเข้าไปมีบทบาทและสร้างนวัตกรรมที่ชื่อว่า Ideas Box เพื่อนำห้องสมุดไปในทุกหนทุกแห่งบนโลก เพื่อมอบโอกาสการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีและสร้างชีวิตใหม่อีกครั้งให้กับพวกเขา จนได้รับรางวัล Google Impact Challenge เมื่อปี 2015 และเพิ่งได้รับรางวัล WISE Awards ประจำปี 2016 จากองค์กรสุดยอดนวัตกรรมโลกด้านการศึกษา (World Innovation Summit for Education) ซึ่งล่าสุดเขาได้นำแนวคิดเรื่อง Ideas…

4 วิธีปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ

4 วิธีปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ ความคิดสร้างสรรค์กำลังเป็นที่ต้องการของทุกภาคส่วนบนโลกนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและธุรกิจซื้อขายออนไลน์ทำให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นที่ต้องการ มีโอกาสด้านการทำงานหลั่งไหลเข้ามาหามากมาย แต่ทำอย่างไรคุณถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์และโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ล่ะ? ศิลปินหลายคนพยายามหากุญแจลับเพื่อไขสู่ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมาหลายศตวรรษ และต่อไปนี้เป็นสิ่งที่พวกเขาค้นพบ (แต่มันก็ไม่แน่ว่าจะใช้ได้กับคนทุกคนเสมอไป)             1. ไม่ทำอะไรเลย ใช่แล้ว ไม่ทำอะไรเลย … ไม่ทำอะไรเลยจริงๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนยุ่งหัวฟูตลอดเวลา ลองหันมาหาวันหยุดให้ตัวเองเพื่อที่จะนั่งเฉยๆ ริมชายหาดหรือริมสระสักหน่อย หรือถ้าหาวันหยุดไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยก็ลองหาเวลาว่างสักวันหรือครึ่งวันตัดขาดจากผู้คนเพื่ออยู่กับตัวเองดูบ้าง เพราะงานการและโปรเจ็กต์ต่างๆ มากมายในแต่ละวันมักทำให้สมองไม่มีเวลาว่างพอให้ความคิดสร้างสรรค์เล็ดลอดออกมาได้ เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องเบรกบ้าง ไม่ต้องทำอะไร นั่งนอนเฉยๆ ไปเรื่อยๆ จนตัวเองเบื่อ พอเบื่อแล้วอาจจะเริ่มถามตัวเองว่า “นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่?” ช่วงนี้แหละที่ความคิดสร้างสรรค์และไอเดียต่างๆ จะเริ่มพรั่งพรูออกมา ลองดูสิ               2. จด จดให้เป็นนิสัย เช่น ในตอนเช้า บังคับตัวเองให้เขียนบันทึกเกี่ยวกับอะไรก็ได้วันละสามหน้า เมื่อเกิดไอเดียขึ้นในหัวระหว่างวัน ไม่ว่าจะไอเดียเล็ก ไอเดียใหญ่ ไอเดียแจ่ม หรือไอเดียเจื่อน คุณควรจะจดมันลงไปเช่นกัน คุณจะใช้แอพฯ มือถือช่วยจดหรือจะจดลงสมุดบันทึกจริงๆ ก็ได้ ขอเพียงแค่จด หรือจะใช้วิธีอัดเสียงตัวเองเก็บไว้ก็ยังได้ หลายๆ ครั้งไอเดียจะบรรเจิดขณะคุณกำลังทำกิจกรรมอย่างอื่นอยู่…

กะเทาะเปลือกแนวคิด “การเรียนรู้ตามอัธยาศัย”

กะเทาะเปลือกแนวคิด “การเรียนรู้ตามอัธยาศัย” คนทำงานได้ความรู้จากห้องพักทานกาแฟมากเสียยิ่งกว่าที่ได้ในห้องเรียน เพราะในชีวิตการทำงานของคนส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่กับการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุย การสังเกต การลองผิดลองถูก และทำงานร่วมกับคนที่เป็นผู้รู้ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีสอนในห้องเรียน เนื่องจากความรู้จากการศึกษาในระบบคิดเป็นเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่นำมาใช้ในการทำงานจริง เวลา 1 นาทีของโลกทุกวันนี้มีสิ่งเกิดขึ้นมากมายยิ่งกว่าเวลา 1 ชั่วโมงในยุคปู่ย่าตายาย ไม่ใช่แค่ปริมาณกิจกรรมที่เกิดขึ้นมากมายทุกนาที แต่การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ยังเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่งอีกด้วย เป็นเหตุให้ผู้คนคาดการณ์อนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้ยาก วิธีการเรียนรู้หรือการฝึกฝนอบรมพนักงานลูกจ้างแบบเดิมๆ จึงใช้ไม่ได้อีกต่อไป การเรียนรู้ 2 วิถี : ขึ้นรถประจำทาง หรือ ขี่จักรยานไปเอง การเรียนรู้ตามอัธยาศัยคือวิธีเรียนรู้ในการทำงานโดยที่ไม่ต้องใช้ระเบียบเคร่งครัด ไม่ต้องเตรียมการ และไม่ต้องมีตารางเวลา การเรียนรู้แบบทางการนั้นก็เหมือนกับการขึ้นรถโดยสารประจำทาง คนขับเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะไปทางไหน ผู้โดยสารเพียงแค่นั่งไปตามทาง แต่การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเหมือนกับการขี่จักรยาน คนขี่จะเป็นผู้เลือกที่หมาย ความเร็ว และเส้นทาง ผู้ขี่สามารถใช้เวลาชื่นชมทัศนียภาพระหว่างทางได้ตลอด หรืออาจจะแวะเข้าห้องน้ำเมื่อไรก็ได้ การเรียนรู้คือการปรับตัว การเรียนรู้ทั้งหลายเป็นส่วนประกอบของการเรียนรู้แบบทางการและไม่เป็นทางการ สาระสำคัญก็คือสัดส่วนระหว่างความเป็นทางการและไม่เป็นทางการนั่นเอง นักบริหารไม่ต้องการเรียนรู้ แต่ต้องการลงมือปฏิบัติ พวกเขาต้องการทำงานให้เสร็จ ต้องการผลงาน พวกเขาจึงมองการเรียนรู้ตามอัธยาศัยว่าเป็นกลยุทธสร้างกำไร และจึงมีบริษัทธุรกิจหลายแห่งประยุกต์การเรียนรู้แบบนี้มาใช้เพื่อ เพิ่มยอดขาย โดยการทำให้ข้อมูลความรู้ของสินค้านั้นสืบค้นได้ง่าย ปรับปรุงผลิตภาพของคนงานที่ใช้ความรู้ ปรับเปลี่ยนองค์กรจากที่ใกล้ล้มละลายไปสู่องค์กรที่เริ่มมีตัวเลขการทำกำไร…

เคล็ดลับอ่านหนังสือกองโตให้เร็วและจำแม่น

เคล็ดลับอ่านหนังสือกองโตให้เร็วและจำแม่น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์หรือกฎหมายถึงทนอ่านหนังสือเป็นกองตั้งๆได้อยู่ทุกสัปดาห์ อะไรคือความลับของพวกเขา? ที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือพวกเขาไม่อ่านเรียงจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้ายตามลำดับ ว่าแต่พวกเขาจะจดจำข้อมูลที่เหลือได้อย่างไรถ้าไม่อ่านตามลำดับอย่างที่พวกเราคุ้นเคยกัน 8 เทคนิคต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับการอ่านหนังสือที่อาจช่วยให้คุณจัดการกับกองหนังสือที่ดูเหมือนต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะอ่านจบได้ 1. อ่านบทสรุปก่อนเป็นอันดับแรก นักเขียนจำนวนไม่น้อยมักจะเปิดบทแรกของหนังสือด้วยภาษาที่ยืดยาว เข้าใจยาก และต้องตีความกันหลายชั้น และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้คน(ตั้งใจ)อ่านหลายคนตกหลุมพรางของความเหนื่อยหน่ายและเขวี้ยงหนังสือทิ้งไปด้วยความผิดหวัง ในเมื่อผู้อ่านเจอหลุมพรางอย่างกรณีนี้ละก็ เคล็ดลับคือ “กระโดดหลบหลุม” นี้เสีย เปิดไปที่บทสุดท้ายของหนังสือ และมองหาบทสรุป นักเขียนหนังสือที่ควรค่าเวลาอ่านของเราจะต้องรวบรวมข้อโต้แย้งหรือบทเรียนที่เรียบเรียงไว้อย่างครบครันในบทสรุป และส่วนใหญ่พวกเขาก็มักจะรวมตัวอย่างหรือหลักฐานที่พูดไปในบทต่างๆไว้อย่างย่อๆในหน้าท้ายๆอยู่แล้ว 2. ใช้ปากกาไฮไลท์ หนึ่งในข้อผิดพลาดที่นักอ่านจำนวนไม่น้อยทำก็คือเลิกใช้ปากกาไฮไลท์ในการอ่านหนังสือ ส่วนมากจะเป็นเพราะพวกเขาไฮไลท์เกือบทั้งหน้าจนสุดท้ายไม่รู้จะไฮไลท์ไปทำไม แต่ความจริงแล้วเทคนิคการไฮไลท์หนังสือถือเป็นอาวุธชั้นเลิศของนักอ่านตัวยงเลยทีเดียว นักอ่านเร็วและจำแม่นต่างรู้ดีว่าการไฮไลท์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้านั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะทำ แต่ก็ไม่ถึงกับต้องเว้นทีละ 50 หน้าถึงจะไฮไลท์ที นักอ่านชั้นเซียนจะพยายามมองหาประเด็นหลักที่คนเขียนต้องการจะสื่อและไฮไลท์เฉพาะข้อความนั้นๆ ถ้าเจอประเด็นหรือตัวอย่างที่ซ้ำก็จะข้ามไป เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้อ่านคัดแยกแต่ประเด็นสำคัญของหนังสือให้โดดเด่นออกมาจากทั้งเล่ม เมื่อย้อนกลับมาอ่านอีกครั้ง พวกเขาจะสามารถสรุปใจความของหนังสือเล่มนั้นๆได้โดยใช้เวลาในการพลิกไปมาเพียงไม่กี่นาที 3. อ่านสารบัญและหัวข้อย่อยในแต่ละบท เด็กที่เพิ่งจะเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ๆ หลายคนมักจะประหลาดใจเมื่อได้พบความจริงที่ว่ารุ่นพี่เก่งๆ หรือแม้แต่อาจารย์หลายคนมักจะไม่อ่านหนังสือทั้งเล่ม แต่พวกเขาจะเริ่มจากการอ่านสารบัญและเลือกอ่านเฉพาะบทที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเขาก่อนเป็นอันดับแรก ในบางทีพวกเขาจะทำเพียงเปิดหนังสือผ่านๆ เร็วๆ ทั้งเล่มและหยุดอ่านเฉพาะเมื่อเห็นหัวข้อย่อยที่ดึงดูดพวกเขาเป็นพิเศษ เทคนิคนี้จะสร้างความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้อง”ทน”อ่าน เพราะพวกเขาอ่านในสิ่งที่พวกเขา”เลือก”เอง หลายคนมองว่าเคล็ดลับข้อนี้อาจทำให้พวกเขาต้องพลาดใจความสำคัญของผู้เขียนไปในบทที่ข้าม แต่ในความเป็นจริงแล้วนักเขียนงานวิชาการส่วนใหญ่มักจะย้ำใจความสำคัญที่สุดของเขาไว้ในทุกๆบทอยู่แล้ว 4. อย่าอ่านเชิงรับ แตให้อ่านแบบเชิงรุก ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ที่รู้สึกเซ็งกับหนังสือที่ครูสั่งให้อ่าน เพราะมันทั้งน่าเบื่อและไม่ใช่สิ่งที่เราเลือกเอง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเนื้อหาในหนังสือทุกเล่มมีทั้งส่วนที่เราไม่สนใจเลย ไปจนถึงส่วนที่เราอาจเชื่อมโยงได้บ้าง เทคนิคคือการเริ่มจากส่วนที่เราพบว่าดึงดูดใจเรามากที่สุด…

วิธีจดโน้ตเลคเชอร์อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีจดโน้ตเลคเชอร์อย่างมีประสิทธิภาพ การจดโน้ตหรือจดเลคเชอร์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนในทุกยุคทุกสมัย แต่ถึงอย่างนั้นบางครั้งโน๊ตที่จดมาก็ดันมีน้ำไม่มีเนื้อซะอย่างนั้น หรือไม่บางครั้งก็อ่านแทบไม่รู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องเลย บทความนี้อ๋อเหรอผู้เข้าใจคนเรียนก็เลยรวบรวมเทคนิคการจดเลคเชอร์ที่จะทำให้คุณได้โน๊ตเลคเชอร์ที่สามารถเอาไปใช้อ่านเพื่อเตรียมสอบได้จริงๆ 1. อย่ามัวแต่จดทุกคำ เป็นความจริงที่ว่าหลายๆคนชอบจดตามคำพูดทุกคำ แต่เราจะบอกว่าการจดตาามทุกคำพูดนั้นนอกจากที่จะเสี่ยงทำให้คุณจดไม่ทันแล้ว ยัทำให้คุณไม่ได้ฟังสิ่งที่อาจารย์สอนอีกด้วย ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ จดเฉพาะบางประโยคที่เป็นหัวใจสำคัญ หรือ คำที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษก็พอ เพราะพอคุณเห็นคำคีย์เวิร์ดคุณก็จะนึกเนื้อหาออกเหมือนกันเพราะมันไปกระตุ้นความทรงจำของคุณนั้นเอง 2. ใช้มือถือให้เป็นประโยค หากคุณเป็นพวกจดช้า คุณอาจกันเหนียว กันพลาดด้วยการใช้มือถือบันทึกเสียงเอาไว้ แต่จงอย่าใช้การบันทึกเสียงเป็นข้ออ้างในการไม่ตั้งใจเรียน เพราะการบันทึกเสียงนั้นเป้นเพียงตัวช่วยในกรณีที่คุณอาจพลาดรายละเอียดบางอย่างไปขณะเรียนแค่นั้น 3. จงตั้งใจฟังก่อนจด ถึงแม้คาบนั้นจะน่าเบื่อแค่ไหนก็ตาม ให้คุณกัดฟันจดเลคเชอร์ไป เพราะเลคเชอร์ที่ได้จากการสอนสดย่อมดีกว่าโน๊ตที่ได้จากการเรียนตามที่หลังผ่านสื่ออื่นๆ เวลาที่คุณเบื่อหรือเริ่มไม่มีสมาธิให้พยายามคิดว่ายิ่งคุณตั้งใจเท่าไหร่ เวลาที่ต้องใช้มานั่งเรียนตามที่หลังก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น 4. ไฮไลท์ ตัวเล็ก-ตัวใหญ่ ขีดเส้นใต้ การทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ลงในโน๊ตเพื่อเน้นคำสำคัญหรือประโยคสำคัญที่อยู่ในโน๊ตเป็นการช่วยกระตุ้นความทรงจำที่ได้ผล ในขณะที่คุณนำโน๊ตกลับมาอ่านอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดระยะเวลาการทำเข้าใจเนื้อหาหลักได้อีกด้วย 5. ใช้ตัวย่อหรือภาพ Visual สัญลักษณ์ต่างๆ การจดเลคเชอร์คือเรื่องของความเร็ว เพราะอย่าลืมว่าเวลาที่คุณเขียนส่วนใหญ่คุณเขียนตามคำพูด ดังนั้นคำไหนใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้ก็ควรใช้เพราะจะช่วยประหยัดเวลาในการเขียนทำให้จดเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น 6. กำจัดสิ่งที่รบกวนสมาธิออกไปซะ ต้นเหตุที่ทำให้จดเลคเชอร์ไม่รู้เรือง ขาดตอน หรือข้อมูลไม่เรียงลำดับ มาจากการที่คุณสมาธิหลุดเพราะถูกรบกวนสมาธิ สิ่งที่คุณควรทำคือกำจัดสิ่งรบกวนเหล่านั้นออกไป เช่น ปิดเสียงมือถือเพื่อไม่ให้วอกแวกเวลามีการแจ้งเตือนจากแอพฯ เป็นต้น 7. เว้นที่ว่างเอาไว้…

เทคนิคการเรียนภาษาจากชายที่พูดได้ถึง 9 ภาษา

เทคนิคการเรียนภาษาจากชายที่พูดได้ถึง 9 ภาษา ‘แมทธิว ยูลเดน’ เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำงานอยู่ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี เขาใช้ภาษาโปรตุเกสในการทำงานเป็นหลัก ทำให้เพื่อนร่วมงานน้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วเขาเป็นชายชาวอังกฤษที่พูดได้มากถึง 9 ภาษา และต่อไปนี้คือเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากแมทธิวสำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.มีเหตุผลที่ดีในการเรียนภาษานั้นๆ มันอาจฟังดูซ้ำซาก แต่จริงๆ แล้วหากคุณไม่มีเหตุผลที่ดีพอในการเลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่ง คุณอาจไม่มีแรงกระตุ้นมากพอในระยะยาวก็เป็นได้ หากคุณแค่ต้องการสร้างความประทับใจด้วยการพูดภาษาฝรั่งเศสให้คนที่พูดภาษาอังกฤษฟัง นั่นอาจเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเหตุผลที่ไม่ดี แต่หากคุณอยากเรียนภาษาฝรั่งเศสเพื่อทำความรู้จักกับคนฝรั่งเศสและเรียนรู้วัฒนธรรมของพวกเขา นั่นเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไป อย่างไรเสีย ไม่ว่าเหตุผลของคุณคืออะไรก็ตาม เมื่อเลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว มันจำเป็นมากๆ ที่คุณจะต้องทุ่มเทกับมันอย่างเต็มที่ 2.หาคนสนิทช่วยฝึก แมทธิวเรียนภาษาต่างประเทศหลายภาษาพร้อมๆ กับ ‘ไมเคิล’ คู่แฝดของเขาตั้งแต่เด็ก ทั้งคู่เรียนภาษากรีก ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศภาษาแรกของพวกเขา จนแตกฉานตั้งแต่อายุแค่ 8 ขวบเท่านั้น โดยแมทธิวระบุว่าการแข่งขันระหว่างพี่น้องช่วยให้เขาเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้น แต่ถ้าคุณไม่มีพี่น้องอย่างแมทธิวและไมเคิล การมีคนสนิทไม่ว่าจะในรูปแบบไหนคอยเรียนรู้ภาษาไปด้วยกันจะช่วยผลักดันให้คุณมีความพยายามมากขึ้นตลอดเวลาและไม่ล้มเลิกความพยายามเร็วเกินไป “เราเคยมีแรงกระตุ้นกันมากๆ และก็ยังเป็นมาจนถึงทุกวันนี้ เราผลักดันอีกฝ่ายให้เดินหน้าอย่างจริงจัง เมื่อไรก็ตามที่เขารู้สึกว่าผมทำได้ดีกว่า เขาจะรู้สึกอิจฉานิดๆ และพยายามที่จะเอาชนะผม และผมเองก็ทำแบบนั้นเช่นกัน” – แมทธิว ยูลเดน 3.พูดกับตัวเอง หากคุณไม่มีใครให้ฝึกฝนทักษะการพูดด้วยล่ะก็ การพูดกับตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร…

ฟินแลนด์จ่อปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ยกเลิกวิชาบังคับตามหลักสูตรทั้งหมด

ฟินแลนด์จ่อปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ยกเลิกวิชาบังคับตามหลักสูตรทั้งหมด ฟินแลนด์เตรียมปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ยกเลิกวิชาเรียนตามหลักสูตรบังคับ อาทิ ฟิสิกข์ คณิตศาสตร์ เคมี เป็นประเทศแรกของโลก ระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดของโลก โดยจะเห็นว่าติดท็อป 10 ในการจัดอันดับระดับสากลอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ก็ยังคงไม่หยุดที่จะพัฒนารูปแบบการศึกษาอยู่เสมอ และครั้งนี้ก็นับได้ว่าเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เลยทีเดียว เมื่อทางการฟินแลนด์ตัดสินใจยกเลิกวิชาในหลักสูตรบังคับอย่าง ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี วรรณคดี ประวัติศาสตร์ หรือภูมิศาสตร์ ออกจากระบบทั้งหมด โดยเว็บไซต์ brightside.me ได้เปิดเผยคำอธิบายของมาร์โจ คีลโลเนน (Marjo Kyllonen) ผู้อำนวนการกรมการศึกษาของเมืองหลวงเฮลซิงกิ โดยระบุไว้ว่า การเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เป็นประโยชน์แค่ในช่วงเริ่มต้นยุค 1900 (พ.ศ. 2443) แต่สำหรับในศตวรรษที่ 21 นี้ควรเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ โดยแทนที่จะสอนตามตำราแบบเดิมที่แยกเป็นวิชา ๆ ไป จะเปลี่ยนให้เด็กนักเรียนหันมาเรียนรู้เชิงปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือความรู้ที่รวมเอาหลายสาขาวิชามาประกอบกัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็จะให้เด็กเรียนรู้ทั้งในด้านของประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน หรือเปิดการสอนวิชา “การทำงานในคาเฟ่” เพื่อให้เด็กได้ซึมซับความรู้ได้แบบเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ, เศรษฐศาสตร์ และทักษะการสื่อสาร…

ห้องสมุดที่สวยที่สุดในโลก

ห้องสมุดที่สวยที่สุดในโลก 7 อันดับ ห้องสมุดที่สวยที่สุดในโลก ดูแล้วทำให้อยากไปศึกษาหาความรู้กันที่นั้นจริงๆ 1. Central Library: Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์ห้องสมุดกลางซีแอตเทิล เป็นห้องสมุดสาธารณะมี 11 ชั้น มีความสูงประมาณ 56 เมตร ใช้เหล็กและกระจกในการก่อสร้าง โดยห้องสมุดนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Seattle กรุงวอชิงตัน Rem Koolhaas และ Joshua Prince-Ramus ร่วมกันออกแบบ โดยห้องสมุดนี้สามารถบรรจุหนังสือได้ถึง 1.45 ล้านเล่ม ตัวอาคารมีที่จอดรถใต้ดิน สามารถจอดรถได้ 143 คัน ภายในยังมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 400 เครื่อง ซึ่งในปีแรกๆ ที่เปิดทำการมีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากว่า 2 ล้านคนทีเดียว 2. Trinity College Library ประเทศไอร์แลนด์ ห้องสมุด Trinity College Library ในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เป็นห้องสมุดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ข้างในห้องสมุดตกแต่งสวยหรูอลังการแล้ว ยังเป็นห้องสมุดห้องเดี่ยวขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่า Long Room ซึ่งสร้างจากไม้โอ๊ค…