เทคนิคอ่านหนังสือให้แม่นก่อนสอบในเวลาจำกัด

เทคนิคอ่านหนังสือให้แม่นก่อนสอบในเวลาจำกัด เพื่อนๆดูกัน เผื่อว่ากระทันหันไม่มีเวลาอ่าน ขอแค่เวลาแปบเดียวก็จำได้แล้ว ลองดูนะ 1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการ อ่านหนังสือ?ซะก่อนนะจ๊ะ หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก 2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้ 3. พยายามสรุปเรื่องที่เรา อ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น 4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด…

10 TED Talks ที่ดีสำหรับนักการศึกษา

10 TED Talks ที่ดีสำหรับนักการศึกษา TED Talks คือแหล่งแรงบันดาลใจขนาดใหญ่สำหรับคนในวงการการศึกษาที่ต้องการขวัญกำลังใจ เชื้อไฟบทสนทนาที่สำคัญ และมุมมองอันสดใหม่ ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่มี Ted Talks ที่ดีที่สุดหลายบทสำหรับวงการ ข้อความและสารเหล่านี้มีคุณค่าอย่างมากสำหรับนักการศึกษาที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นในตัวนักเรียนของพวกเขา           ภาวะอันตรายของความเงียบงัน (The Danger of Silence) คลินท์ สมิธ กวีและคุณครูกระตุ้นให้ผู้ฟังทุกคนออกมาพูดแสดงจุดยืนต่อต้านภาวะอวิชชาและความอยุติธรรมในสังคม เขาเริ่มต้นสุนทรพจน์ของเขาด้วยคำกล่าวของมาร์ติน ลูเธอร์ คิงจูเนียร์ที่ว่า “ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่พวกเราจะจดจำได้นั้นไม่ใช่คำพูดของศัตรูเรา หากแต่เป็นความเงียบงันของสหายเราต่างหาก” สมิธได้ยกคำกล่าวนี้ให้เป็นหลักสำคัญของห้องเรียนเขา นั่นคือ “จงพูดความจริง” นี่เป็น TED Talk ที่เราควรจะแชร์กับนักเรียนในห้องของเราเพื่อให้พวกเขาเห็นว่าการนิ่งเฉยไม่พูดอะไรนั้นแท้จริงแล้วอันตรายกว่าที่เราคิด เสียงและความคิดเห็นของพวกเขานั้นเป็นสิ่งสำคัญ (รับชมได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=NiKtZgImdlY)            ทำไมแม่ครัวอาหารกลางวันถึงเป็นฮีโร่ (Why Lunch Ladies are Heroes) จาร์เรท โครซอคสกา นักเขียนหนังสือภาพสำหรับเด็กได้เน้นย้ำถึงบทบาทของ “แม่ครัวอาหารกลางวันของโรงเรียน” ในหนังสือของเขาและ TED…

เครื่องขายเรื่องสั้น

เครื่องขายเรื่องสั้น

เครื่องขายเรื่องสั้นแก้เบื่อ สำหรับคนเดินทาง

       ลองจินตนาการดูว่าคุณกำลังรอรถไฟเที่ยวต่อไป ปกติคุณจะยกสมาร์ทโฟนขึ้นมาเพื่อฆ่าเวลา เพื่อรอต่อไปอย่างเบื่อหน่ายไม่มีที่สิ้นสุด

จะดีแค่ไหนถ้าคุณมีวิธีแก้เบื่อที่ดีกว่านั้นล่ะ?
ล่าสุด ‘Short Édition’ บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติฝรั่งเศสได้คิดค้น ‘เครื่องขายเรื่องสั้น’ นอกสถานที่ โดยเริ่มติดตั้งจริงแล้วที่เมืองโกรโนเบลอ ทางตอนใต้ของประเทศ แนวคิดของเครื่องนี้คือการทำให้การรอคอยอันแสนเบื่อหน่ายมีสีสันมากขึ้นด้วยเรื่องสั้นหรือบทความต่างๆ ที่จะถูกพิมพ์ออกมาจากเครื่องดังกล่าว ไม่ต่างจากเครื่องขายของอัตโนมัติทั่วไป
อาจเคยเห็นเครื่องขายหนังสืออัตโนมัติแบบอื่นมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเครื่องขายเรื่องสั้น มันถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบายและคล่องตัวโดยเฉพาะ กระดาษที่ใช้พิมพ์เรื่องสั้นเป็นกระดาษบางม้วนยาว เรื่องสั้นที่คุณได้รับจะมีลักษณะคล้ายใบเสร็จร้านอาหาร เบา บาง กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ และขยำทิ้งได้ง่ายเมื่ออ่านจบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกความยาวของเรื่องสั้นหรือบทความต่างๆ จากเวลาที่คุณมีอยู่ได้อีกด้วย
น่าเสียดายที่เครื่องดังกล่าวมีเพียง 8 เครื่องในปัจจุบัน และทั้งหมดตั้งอยู่ในเมืองโกรโนเบลอตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ในเมืองซึ่งผู้คนมักต้องการตัวช่วยฆ่าเวลาเสมอๆ ตั้งแต่ศาลาว่าการเมือง สำนักงานการท่องเที่ยว ห้องสมุด เป็นต้น
ในระหว่างที่เครื่องขายเรื่องสั้นนี้ยังเดินทางไปไม่ถึงเมืองที่คุณอาศัยอยู่ คุณก็สามารถหยิบเอาแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้เช่นกัน เช่น การชาร์ตแบตเตอรีสมาร์ทโฟนไว้ให้เพียงพอ ดาวน์โหลดเรื่องสั้น วรรณกรรม หรือบทความที่น่าสนใจใส่ไว้ในนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณเบื่อหน่าย ก็แค่หยิบสมาร์ทโฟนของคุณออกมาอ่าน รับรองว่าการฆ่าเวลาของคุณจะเป็นประสบการณ์สนุกสนานและมีความรู้มากกว่าที่เคยเป็นอย่างแน่นอน

แหล่งข้อมูลจาก http://www.huffingtonpost.com/entry/short-story-vending-machine-solves-all-fiction-on-the-go-problems_56537efde4b0258edb32959f?utm_hp_ref=books&ir=Books&section=books

อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร

อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร โดย ซานดร้า แธคเคอร์ (Sandra Thacker), CBS News คุณอาจคิดว่าความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตและความนิยมของอีบุ๊ค (e-book) ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ห้องสมุดหายไปจากโลกใบนี้ แต่กลายเป็นว่าห้องสมุดทั้งหลายแค่แปลงโฉมให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เค็น โรเบิร์ตส์ (Ken Roberts) ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษ์และเทคโนโลยี ได้บรรยายในหัวข้อ ‘อนาคตของหนังสือ’โดยกล่าวถึง ’ยุคเฟื่องฟูของหนังสืออีบุ๊คระรอกที่สอง’ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่หลักๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดแล้ว รวมถึงอีบุ๊คด้วย “เราจะได้เห็นอีบุ๊คออกมาอีกเรื่อยๆ เนื่องจากเผยแพร่ได้ง่าย แค่ผ่านร้านไม่กี่แห่ง และสำนักพิมพ์ก็หาช่องทางขายง่ายกว่าเดิมด้วย” เขาอธิบาย “สำหรับหนังสือแนวสารคดี เนื้อหาจะถูกปรับให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว “นักอ่านรุ่นต่อไปจะอ่านได้ดีขึ้น เพราะตอนนี้อีบุ๊คบางแบบมีสีสันแต่ก็อ่านกลางแจ้งลำบาก บางแบบเป็นเป็นขาวดำ อ่านยากในที่มีแสงน้อย ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นเทคโนโลยีที่มาแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้” แต่ถึงจะมีการปรับให้เข้ากับห้องสมุดอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ โรเบิร์ตส์ยังเชื่อว่าห้องสมุดก็ยังต้องมีหนังสืออยู่แน่นอน “หนังสือจะยังคงมีอยู่ในห้องสมุด เพราะหลายคนก็ยังอยากอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มอยู่” เขากล่าวต่อ “แต่พื้นที่ของห้องสมุดจำนวนหนึ่งจะถูกกันไว้เพื่อกิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วย” ตัวอย่างเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างหนึ่งคือ Makerspaces “แทนที่จะพิมพ์อะไรลงบนกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้เราสามารถพิมพ์วัสดุสามมิติได้” โรเบิร์ตส์อธิบาย แล้วห้องสมุดได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่ โรเบิร์ตส์เป็นบรรณารักษ์มากว่าสี่ทศวรรษกลับบอกว่ามีคนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น “เมื่อวัดจากจำนวนครั้งที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดพบว่ายอดใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 6 ครั้ง เป็นมากกว่า 12 ครั้ง เนื่องจากพวกเบบี้บูมเมอร์พบว่ามีนิยายก็ชอบเข้ามาอ่าน”…

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม

10 สุดยอดมหานครในโลกวรรณกรรม นิยามอย่างเป็นทางการของ‘มหานคร’คือเมืองที่มีประชากรสิบล้านคนขึ้นไป แต่หากใช้กฎเกณฑ์นี้เพียงอย่างเดียว กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรก็จะไม่เข้าข่ายการเป็นมหานครนัก เพราะประชากรอย่างเป็นทางการไม่ถึงสิบล้านดี ขณะที่เมืองลาฮอร์ของปากีสถานหรือลากอสของไนจีเรียจะถือว่าเป็นมหานคร เพราะมีประชากรเกินสิบล้านคนไปแล้วแม้จะด้อยพัฒนากว่าและมีนัยยะของความเป็นมหานครน้อยกว่าลอนดอนก็ตาม การพิจารณาว่าเมืองไหนเป็นมหานครหรือไม่จึงมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขประชากรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมหานครคือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยชีวิตและเรื่องราวของผู้คนที่อัดแน่นกันในพื้นที่แค่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ซึ่งให้ความหมายมากมายกว่าตัวเลข มหานครเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การทำลายล้างมากมาย ต่อไปนี้เป็น 10 สุดยอดวรรณกรรมที่มีมหานครสุดสร้างสรรค์เป็นพื้นหลัง เต็มไปด้วยเนื้อเรื่องและตัวละครที่น่าสนใจชวนติดตาม 1. A Tale of Two Cities โดย Charles Dickens ฉากชาวสลัมแย่งกันดื่มไวน์จากถังซึ่งเป็นฉากเปิดของวรรณกรรมเรื่องนี้สามารถบอกคุณได้ทันทีว่าเรากำลังอยู่ในมหานครยักษ์ใหญ่อย่างปารีส ผู้เขียนใช้ตัวหนังสือวาดภาพปารีสยุคก่อนปฏิวัติและลอนดอนยุควิกตอเรียนในเรื่องได้อย่างหนักแน่นและได้อรรถรส แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอยู่บ้างก็ตาม 2. The Bees โดยLaline Paull รังผึ้งมักถูกใช้เป็นอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบมหานครขนาดใหญ่อันแออัดหลายต่อหลายครั้ง แต่ใน The Bees ของ Laline Paull นั้นเป็นเรื่องราวของมหานครในรังผึ้งจริงๆ คุณจะได้ติดตามชีวิตของ ‘Flora 717’ ผึ้งงานระดับต่ำสุดของฝูงที่ต้องออกผจญภัยมากมาย ทั้งที่ในแบบที่คุณคาดถึงและคาดไม่ถึงว่าผึ้งตัวหนึ่งจะสามารถทำได้ 3. Five Star Billionaire โดย Tash Aw…

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน

Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน ขณะที่สังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ขับเคลื่อนข้อมูล ข่าวสารตลอดจนความรู้ต่างๆ มากมายมหาศาล เข้าสู่ทุกประตูบ้านผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน นั่นหมายถึงโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ที่กว้างไกลและไร้ขอบเขตมากขึ้น  แต่….ในอีกหลายมุมบนโลกใบนี้  พบว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ขาดโอกาสและหนทางในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่ง “ห้องสมุด” ที่เป็นคลังความรู้ที่จำเป็นด้านการศึกษา นั่นคือ กลุ่มผู้อพยพลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น รวมไปถึงเขตผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ และชุมชนยากไร้ที่กระจายอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน  เจเรมี  ลาชาล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการองค์กรห้องสมุดไร้พรมแดน (Libraries Without Borders – LWB)  จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อกำจัดความไม่เท่าเทียมด้านการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ ด้วยการก้าวข้ามนิยามดั้งเดิมของห้องสมุดและการขยายกรอบที่ห้องสมุดจะเข้าไปมีบทบาทและสร้างนวัตกรรมที่ชื่อว่า Ideas Box เพื่อนำห้องสมุดไปในทุกหนทุกแห่งบนโลก เพื่อมอบโอกาสการเรียนรู้และการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีและสร้างชีวิตใหม่อีกครั้งให้กับพวกเขา จนได้รับรางวัล Google Impact Challenge เมื่อปี 2015 และเพิ่งได้รับรางวัล WISE Awards ประจำปี 2016 จากองค์กรสุดยอดนวัตกรรมโลกด้านการศึกษา (World Innovation Summit for Education) ซึ่งล่าสุดเขาได้นำแนวคิดเรื่อง Ideas…

4 วิธีปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ

4 วิธีปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ ความคิดสร้างสรรค์กำลังเป็นที่ต้องการของทุกภาคส่วนบนโลกนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและธุรกิจซื้อขายออนไลน์ทำให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นที่ต้องการ มีโอกาสด้านการทำงานหลั่งไหลเข้ามาหามากมาย แต่ทำอย่างไรคุณถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์และโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ล่ะ? ศิลปินหลายคนพยายามหากุญแจลับเพื่อไขสู่ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมาหลายศตวรรษ และต่อไปนี้เป็นสิ่งที่พวกเขาค้นพบ (แต่มันก็ไม่แน่ว่าจะใช้ได้กับคนทุกคนเสมอไป)             1. ไม่ทำอะไรเลย ใช่แล้ว ไม่ทำอะไรเลย … ไม่ทำอะไรเลยจริงๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนยุ่งหัวฟูตลอดเวลา ลองหันมาหาวันหยุดให้ตัวเองเพื่อที่จะนั่งเฉยๆ ริมชายหาดหรือริมสระสักหน่อย หรือถ้าหาวันหยุดไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยก็ลองหาเวลาว่างสักวันหรือครึ่งวันตัดขาดจากผู้คนเพื่ออยู่กับตัวเองดูบ้าง เพราะงานการและโปรเจ็กต์ต่างๆ มากมายในแต่ละวันมักทำให้สมองไม่มีเวลาว่างพอให้ความคิดสร้างสรรค์เล็ดลอดออกมาได้ เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องเบรกบ้าง ไม่ต้องทำอะไร นั่งนอนเฉยๆ ไปเรื่อยๆ จนตัวเองเบื่อ พอเบื่อแล้วอาจจะเริ่มถามตัวเองว่า “นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่?” ช่วงนี้แหละที่ความคิดสร้างสรรค์และไอเดียต่างๆ จะเริ่มพรั่งพรูออกมา ลองดูสิ               2. จด จดให้เป็นนิสัย เช่น ในตอนเช้า บังคับตัวเองให้เขียนบันทึกเกี่ยวกับอะไรก็ได้วันละสามหน้า เมื่อเกิดไอเดียขึ้นในหัวระหว่างวัน ไม่ว่าจะไอเดียเล็ก ไอเดียใหญ่ ไอเดียแจ่ม หรือไอเดียเจื่อน คุณควรจะจดมันลงไปเช่นกัน คุณจะใช้แอพฯ มือถือช่วยจดหรือจะจดลงสมุดบันทึกจริงๆ ก็ได้ ขอเพียงแค่จด หรือจะใช้วิธีอัดเสียงตัวเองเก็บไว้ก็ยังได้ หลายๆ ครั้งไอเดียจะบรรเจิดขณะคุณกำลังทำกิจกรรมอย่างอื่นอยู่…

กะเทาะเปลือกแนวคิด “การเรียนรู้ตามอัธยาศัย”

กะเทาะเปลือกแนวคิด “การเรียนรู้ตามอัธยาศัย” คนทำงานได้ความรู้จากห้องพักทานกาแฟมากเสียยิ่งกว่าที่ได้ในห้องเรียน เพราะในชีวิตการทำงานของคนส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่กับการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุย การสังเกต การลองผิดลองถูก และทำงานร่วมกับคนที่เป็นผู้รู้ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีสอนในห้องเรียน เนื่องจากความรู้จากการศึกษาในระบบคิดเป็นเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่นำมาใช้ในการทำงานจริง เวลา 1 นาทีของโลกทุกวันนี้มีสิ่งเกิดขึ้นมากมายยิ่งกว่าเวลา 1 ชั่วโมงในยุคปู่ย่าตายาย ไม่ใช่แค่ปริมาณกิจกรรมที่เกิดขึ้นมากมายทุกนาที แต่การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ยังเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่งอีกด้วย เป็นเหตุให้ผู้คนคาดการณ์อนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้ยาก วิธีการเรียนรู้หรือการฝึกฝนอบรมพนักงานลูกจ้างแบบเดิมๆ จึงใช้ไม่ได้อีกต่อไป การเรียนรู้ 2 วิถี : ขึ้นรถประจำทาง หรือ ขี่จักรยานไปเอง การเรียนรู้ตามอัธยาศัยคือวิธีเรียนรู้ในการทำงานโดยที่ไม่ต้องใช้ระเบียบเคร่งครัด ไม่ต้องเตรียมการ และไม่ต้องมีตารางเวลา การเรียนรู้แบบทางการนั้นก็เหมือนกับการขึ้นรถโดยสารประจำทาง คนขับเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะไปทางไหน ผู้โดยสารเพียงแค่นั่งไปตามทาง แต่การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเหมือนกับการขี่จักรยาน คนขี่จะเป็นผู้เลือกที่หมาย ความเร็ว และเส้นทาง ผู้ขี่สามารถใช้เวลาชื่นชมทัศนียภาพระหว่างทางได้ตลอด หรืออาจจะแวะเข้าห้องน้ำเมื่อไรก็ได้ การเรียนรู้คือการปรับตัว การเรียนรู้ทั้งหลายเป็นส่วนประกอบของการเรียนรู้แบบทางการและไม่เป็นทางการ สาระสำคัญก็คือสัดส่วนระหว่างความเป็นทางการและไม่เป็นทางการนั่นเอง นักบริหารไม่ต้องการเรียนรู้ แต่ต้องการลงมือปฏิบัติ พวกเขาต้องการทำงานให้เสร็จ ต้องการผลงาน พวกเขาจึงมองการเรียนรู้ตามอัธยาศัยว่าเป็นกลยุทธสร้างกำไร และจึงมีบริษัทธุรกิจหลายแห่งประยุกต์การเรียนรู้แบบนี้มาใช้เพื่อ เพิ่มยอดขาย โดยการทำให้ข้อมูลความรู้ของสินค้านั้นสืบค้นได้ง่าย ปรับปรุงผลิตภาพของคนงานที่ใช้ความรู้ ปรับเปลี่ยนองค์กรจากที่ใกล้ล้มละลายไปสู่องค์กรที่เริ่มมีตัวเลขการทำกำไร…

เคล็ดลับอ่านหนังสือกองโตให้เร็วและจำแม่น

เคล็ดลับอ่านหนังสือกองโตให้เร็วและจำแม่น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์หรือกฎหมายถึงทนอ่านหนังสือเป็นกองตั้งๆได้อยู่ทุกสัปดาห์ อะไรคือความลับของพวกเขา? ที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือพวกเขาไม่อ่านเรียงจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้ายตามลำดับ ว่าแต่พวกเขาจะจดจำข้อมูลที่เหลือได้อย่างไรถ้าไม่อ่านตามลำดับอย่างที่พวกเราคุ้นเคยกัน 8 เทคนิคต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับการอ่านหนังสือที่อาจช่วยให้คุณจัดการกับกองหนังสือที่ดูเหมือนต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะอ่านจบได้ 1. อ่านบทสรุปก่อนเป็นอันดับแรก นักเขียนจำนวนไม่น้อยมักจะเปิดบทแรกของหนังสือด้วยภาษาที่ยืดยาว เข้าใจยาก และต้องตีความกันหลายชั้น และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้คน(ตั้งใจ)อ่านหลายคนตกหลุมพรางของความเหนื่อยหน่ายและเขวี้ยงหนังสือทิ้งไปด้วยความผิดหวัง ในเมื่อผู้อ่านเจอหลุมพรางอย่างกรณีนี้ละก็ เคล็ดลับคือ “กระโดดหลบหลุม” นี้เสีย เปิดไปที่บทสุดท้ายของหนังสือ และมองหาบทสรุป นักเขียนหนังสือที่ควรค่าเวลาอ่านของเราจะต้องรวบรวมข้อโต้แย้งหรือบทเรียนที่เรียบเรียงไว้อย่างครบครันในบทสรุป และส่วนใหญ่พวกเขาก็มักจะรวมตัวอย่างหรือหลักฐานที่พูดไปในบทต่างๆไว้อย่างย่อๆในหน้าท้ายๆอยู่แล้ว 2. ใช้ปากกาไฮไลท์ หนึ่งในข้อผิดพลาดที่นักอ่านจำนวนไม่น้อยทำก็คือเลิกใช้ปากกาไฮไลท์ในการอ่านหนังสือ ส่วนมากจะเป็นเพราะพวกเขาไฮไลท์เกือบทั้งหน้าจนสุดท้ายไม่รู้จะไฮไลท์ไปทำไม แต่ความจริงแล้วเทคนิคการไฮไลท์หนังสือถือเป็นอาวุธชั้นเลิศของนักอ่านตัวยงเลยทีเดียว นักอ่านเร็วและจำแม่นต่างรู้ดีว่าการไฮไลท์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้านั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะทำ แต่ก็ไม่ถึงกับต้องเว้นทีละ 50 หน้าถึงจะไฮไลท์ที นักอ่านชั้นเซียนจะพยายามมองหาประเด็นหลักที่คนเขียนต้องการจะสื่อและไฮไลท์เฉพาะข้อความนั้นๆ ถ้าเจอประเด็นหรือตัวอย่างที่ซ้ำก็จะข้ามไป เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้อ่านคัดแยกแต่ประเด็นสำคัญของหนังสือให้โดดเด่นออกมาจากทั้งเล่ม เมื่อย้อนกลับมาอ่านอีกครั้ง พวกเขาจะสามารถสรุปใจความของหนังสือเล่มนั้นๆได้โดยใช้เวลาในการพลิกไปมาเพียงไม่กี่นาที 3. อ่านสารบัญและหัวข้อย่อยในแต่ละบท เด็กที่เพิ่งจะเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ๆ หลายคนมักจะประหลาดใจเมื่อได้พบความจริงที่ว่ารุ่นพี่เก่งๆ หรือแม้แต่อาจารย์หลายคนมักจะไม่อ่านหนังสือทั้งเล่ม แต่พวกเขาจะเริ่มจากการอ่านสารบัญและเลือกอ่านเฉพาะบทที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเขาก่อนเป็นอันดับแรก ในบางทีพวกเขาจะทำเพียงเปิดหนังสือผ่านๆ เร็วๆ ทั้งเล่มและหยุดอ่านเฉพาะเมื่อเห็นหัวข้อย่อยที่ดึงดูดพวกเขาเป็นพิเศษ เทคนิคนี้จะสร้างความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้อง”ทน”อ่าน เพราะพวกเขาอ่านในสิ่งที่พวกเขา”เลือก”เอง หลายคนมองว่าเคล็ดลับข้อนี้อาจทำให้พวกเขาต้องพลาดใจความสำคัญของผู้เขียนไปในบทที่ข้าม แต่ในความเป็นจริงแล้วนักเขียนงานวิชาการส่วนใหญ่มักจะย้ำใจความสำคัญที่สุดของเขาไว้ในทุกๆบทอยู่แล้ว 4. อย่าอ่านเชิงรับ แตให้อ่านแบบเชิงรุก ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ที่รู้สึกเซ็งกับหนังสือที่ครูสั่งให้อ่าน เพราะมันทั้งน่าเบื่อและไม่ใช่สิ่งที่เราเลือกเอง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเนื้อหาในหนังสือทุกเล่มมีทั้งส่วนที่เราไม่สนใจเลย ไปจนถึงส่วนที่เราอาจเชื่อมโยงได้บ้าง เทคนิคคือการเริ่มจากส่วนที่เราพบว่าดึงดูดใจเรามากที่สุด…

วิธีจดโน้ตเลคเชอร์อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีจดโน้ตเลคเชอร์อย่างมีประสิทธิภาพ การจดโน้ตหรือจดเลคเชอร์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนในทุกยุคทุกสมัย แต่ถึงอย่างนั้นบางครั้งโน๊ตที่จดมาก็ดันมีน้ำไม่มีเนื้อซะอย่างนั้น หรือไม่บางครั้งก็อ่านแทบไม่รู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องเลย บทความนี้อ๋อเหรอผู้เข้าใจคนเรียนก็เลยรวบรวมเทคนิคการจดเลคเชอร์ที่จะทำให้คุณได้โน๊ตเลคเชอร์ที่สามารถเอาไปใช้อ่านเพื่อเตรียมสอบได้จริงๆ 1. อย่ามัวแต่จดทุกคำ เป็นความจริงที่ว่าหลายๆคนชอบจดตามคำพูดทุกคำ แต่เราจะบอกว่าการจดตาามทุกคำพูดนั้นนอกจากที่จะเสี่ยงทำให้คุณจดไม่ทันแล้ว ยัทำให้คุณไม่ได้ฟังสิ่งที่อาจารย์สอนอีกด้วย ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ จดเฉพาะบางประโยคที่เป็นหัวใจสำคัญ หรือ คำที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษก็พอ เพราะพอคุณเห็นคำคีย์เวิร์ดคุณก็จะนึกเนื้อหาออกเหมือนกันเพราะมันไปกระตุ้นความทรงจำของคุณนั้นเอง 2. ใช้มือถือให้เป็นประโยค หากคุณเป็นพวกจดช้า คุณอาจกันเหนียว กันพลาดด้วยการใช้มือถือบันทึกเสียงเอาไว้ แต่จงอย่าใช้การบันทึกเสียงเป็นข้ออ้างในการไม่ตั้งใจเรียน เพราะการบันทึกเสียงนั้นเป้นเพียงตัวช่วยในกรณีที่คุณอาจพลาดรายละเอียดบางอย่างไปขณะเรียนแค่นั้น 3. จงตั้งใจฟังก่อนจด ถึงแม้คาบนั้นจะน่าเบื่อแค่ไหนก็ตาม ให้คุณกัดฟันจดเลคเชอร์ไป เพราะเลคเชอร์ที่ได้จากการสอนสดย่อมดีกว่าโน๊ตที่ได้จากการเรียนตามที่หลังผ่านสื่ออื่นๆ เวลาที่คุณเบื่อหรือเริ่มไม่มีสมาธิให้พยายามคิดว่ายิ่งคุณตั้งใจเท่าไหร่ เวลาที่ต้องใช้มานั่งเรียนตามที่หลังก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น 4. ไฮไลท์ ตัวเล็ก-ตัวใหญ่ ขีดเส้นใต้ การทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ลงในโน๊ตเพื่อเน้นคำสำคัญหรือประโยคสำคัญที่อยู่ในโน๊ตเป็นการช่วยกระตุ้นความทรงจำที่ได้ผล ในขณะที่คุณนำโน๊ตกลับมาอ่านอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดระยะเวลาการทำเข้าใจเนื้อหาหลักได้อีกด้วย 5. ใช้ตัวย่อหรือภาพ Visual สัญลักษณ์ต่างๆ การจดเลคเชอร์คือเรื่องของความเร็ว เพราะอย่าลืมว่าเวลาที่คุณเขียนส่วนใหญ่คุณเขียนตามคำพูด ดังนั้นคำไหนใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้ก็ควรใช้เพราะจะช่วยประหยัดเวลาในการเขียนทำให้จดเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น 6. กำจัดสิ่งที่รบกวนสมาธิออกไปซะ ต้นเหตุที่ทำให้จดเลคเชอร์ไม่รู้เรือง ขาดตอน หรือข้อมูลไม่เรียงลำดับ มาจากการที่คุณสมาธิหลุดเพราะถูกรบกวนสมาธิ สิ่งที่คุณควรทำคือกำจัดสิ่งรบกวนเหล่านั้นออกไป เช่น ปิดเสียงมือถือเพื่อไม่ให้วอกแวกเวลามีการแจ้งเตือนจากแอพฯ เป็นต้น 7. เว้นที่ว่างเอาไว้…