CHULALONGKORN UNIVERSITY TEST OF APTITUDE IN DESIGN การทดสอบทักษาทางด้านการออกแบบ สำหรับผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย >>คลิ๊กดูโบรชัวร์คอร์สเรียน


Part 1: Spatial Perception & Logical Analysis
Multiple Choice with 30 Items (30 points, 30 minutes)
เป็นส่วนที่วัดระดับ ด้านทักษะและความสามารถในการสังเกตรูปภาพ การเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นฐาน
โครงสร้างการรับน้ำหนักของสถาปัตยกรรมศาสตร์ เน้นใช้ความคิดเชิงตรรกะเป็นหลัก
จะแบ่งแยกเนื้อหาออกสอบย่อยๆ ได้อีกเป็น

  • ข้อสอบ Matching ทดสอบการสังเกตและการรับรู้การเปลี่ยนแปลง
  • ข้อสอบ Logic & Sequence ตรรกะการรับรู้ ทดสอบความสามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
  • ข้อสอบ Quantity ทดสอบการสังเกต จดจำ และรับรู้เรื่องจำนวน
  • ข้อสอบ 2-Dimensional & 3-Dimensional Perception ทดสอบการรับรู้ความสัมพันธ์ของมิติ รูปทรง
  • ข้อสอบ Physics & Design fundamental ทดสอบความรู้เบื้องต้นทางการออกแบบ และพื้นฐานโครงสร้าง

Part 2: Generation of Ideas & Design Ability
4 items (40 points, 60 minutes)
ส่วนนี้เป็นส่วนของ Design ซึ่งเน้นไปที่ IDEA – CONCEPT ต้องการดูการออกแบบที่แปลกใหม่มีความ
แตกต่าง และความเป็นไปได้ในการใช้งาน ข้อสอบส่วนนี้มีหลายข้อ ควรใช้เวลาอย่างคุ้มค่า และ ทำข้อสอบ
ทุกข้อ ความละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญมากในส่วนนี้ ผู้สอบควรใส่ใจในเรื่องของ Detail ให้งานสะอาด เรียบร้อย
รวมถึงความสวยงามของลายเส้น การออกแบบ มีข้อสอบประมาณ 3-5 ข้อใหญ่ ตัวอย่างโจทย์ เช่น

  • Symbol/Logo ให้ออกแบบสัญลักษณ์ เช่น จงออกแบบสัญลักษณ์ของห้องพยาบาลมาห้าแบบ เป็นต้น
  • Sketch design ให้ออกแบบของชิ้ิ้นใหญ่ มีประมาณ 1-2 ข้อ ส่วนนี้อาจรวมถึงการวัดทักษะการเขียนรูปด้าน
  • Poster design ให้ออกแบบงานโปสเตอร์ 2มิติ เพื่อประชาสัมพันธ์หรือสื่อความหมาย
  • Design From Given Inspiration ให้ออกแบบสิ่งของชิ้นเล็กหลายอย่างมากตามที่โจทย์ให้มา

Part 3: Drawing & Painting Skill
2 items (30 points, 90 minutes) แบ่งออกเป็น สองข้อใหญ่ๆ คือ
1. ภาพ Perspective – ส่วนนี้ ผู้สอบควรมีทักษะในการวาดภาพ Perspective ควรมีความเข้าใจหลักการของการวาดภาพ Perspective และการลงรายละเอียดให้มีมิติของบรรยากาศ

  • Interior Perspective : ภาพทัศนียภาพภายในอาคาร เช่น โชว์รูม ห้องนอน ร้านกาแฟ
  • Exterior Perspective : ภาพทัศนียภาพภายนอก เช่น สวนสาธารณะ ถนนคนเดิน

2. ภาพ Observational Drawing – ส่วนนี้จะเป็นการการวาดภาพเหมือนของมือตนเองหรือวัตถุอื่นตามที่ข้อสอบกำหนดให้ ผู้สอบควรเข้าใจถึงเรื่อง position and proportion ที่มือควรจะเป็น อาจารย์ผู้ตรวจต้องการเห็นความถูกต้องในเรื่องของ สัดส่วน (Proportion) และ Scale เมื่อเทียบกับวัตถุต้นแบบ

ภาพรวมของการสอบ CU-TAD

  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • ผลการสอบมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการสอบ
  • ผู้สมัครสามารถตรวจสอบผลการสอบผ่านระบบออนไลน์ได้หลังจากทำการสอบ 2 สัปดาห์
  • ยกเลิกการตรวจผลคะแนนซ้ำของวิชา CU-TAD ใน Part2 และ Part3 เนื่องจากการตัดสินผลคะแนนของคณะกรรมการตรวจกระดาษคำตอบถือเป็นที่สิ้นสุด

อุปกรณ์ที่อนุญาตในการสอบ (เพิ่มเติม)

  • อุปกรณ์เครื่องเขียน
  • อุปกรณ์การวาดภาพ ระบายสี ตามความถนัด (บรรจุอุปกรณ์ข้างต้นใส่ถุง หรือกล่องที่โปร่งแสง และไม่มีตัวหนังสือ หรือลวดลายใดๆ เขียนอยู่)

หมายเหตุ :

  • กรณีใช้สีน้ำ ผู้เข้าสอบจะต้องนำภาชนะในการใส่น้ำมาเอง โดยภาชนะดังกล่าวต้องโปร่งแสง ไม่มีลวดลายหรือการขีดเขียนใดๆ ทั้งสิ้น
  • ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทิชชู่ หรือผ้าซับพู่กันทุกชนิดเข้าห้องสอบ หากผู้เข้าสอบต้องการ ให้ยกมือขอได้จากกรรมการคุมสอบ และเมื่อหมดเวลาจะต้องเก็บใส่ในถุงที่กรรมการเตรียมไว้ ไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องสอบ
  • เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้เข้าสอบรายอื่น ขอความร่วมมือไม่ให้ผู้เข้าสอบใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนที่อาจก่อให้เกิดเสียงรบกวนระหว่างการสอบ เช่น ยางลบไฟฟ้า หรือกบเหลาดินสอไฟฟ้า เป็นต้น

ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3

หมายเหตุ : เนื่องจากคอร์ส Art and Design นี้เป็นการพัฒนาความสามารถเฉพาะด้าน ควรวางแผนการเรียนตั้งแต่ต้นปีการศึกษา หรือปรึกษาวางแผนการศึกษากับทาง Joint Education ได้เลยค่ะ

คอร์สที่เปิดมีดังนี้

เวลาเรียนเริ่มต้นที่ 10 ชั่วโมง

เรียนวันละ 2 ชั่วโมง

สามารถเลือกวัน และเวลาเรียนได้ค่ะ (ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้เลยนะคะ)

   >>คลิ๊กดูโบรชัวร์คอร์สเรียน