อนาคตของหนังสือจะเป็นอย่างไร
โดย ซานดร้า แธคเคอร์ (Sandra Thacker), CBS News
คุณอาจคิดว่าความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตและความนิยมของอีบุ๊ค (e-book) ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ห้องสมุดหายไปจากโลกใบนี้ แต่กลายเป็นว่าห้องสมุดทั้งหลายแค่แปลงโฉมให้เข้ากับโลกยุคใหม่
เค็น โรเบิร์ตส์ (Ken Roberts) ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษ์และเทคโนโลยี ได้บรรยายในหัวข้อ ‘อนาคตของหนังสือ’โดยกล่าวถึง ’ยุคเฟื่องฟูของหนังสืออีบุ๊คระรอกที่สอง’ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่หลักๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดแล้ว รวมถึงอีบุ๊คด้วย
“เราจะได้เห็นอีบุ๊คออกมาอีกเรื่อยๆ เนื่องจากเผยแพร่ได้ง่าย แค่ผ่านร้านไม่กี่แห่ง และสำนักพิมพ์ก็หาช่องทางขายง่ายกว่าเดิมด้วย” เขาอธิบาย
“สำหรับหนังสือแนวสารคดี เนื้อหาจะถูกปรับให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว “นักอ่านรุ่นต่อไปจะอ่านได้ดีขึ้น เพราะตอนนี้อีบุ๊คบางแบบมีสีสันแต่ก็อ่านกลางแจ้งลำบาก บางแบบเป็นเป็นขาวดำ อ่านยากในที่มีแสงน้อย ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นเทคโนโลยีที่มาแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้”
แต่ถึงจะมีการปรับให้เข้ากับห้องสมุดอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ โรเบิร์ตส์ยังเชื่อว่าห้องสมุดก็ยังต้องมีหนังสืออยู่แน่นอน
“หนังสือจะยังคงมีอยู่ในห้องสมุด เพราะหลายคนก็ยังอยากอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มอยู่” เขากล่าวต่อ “แต่พื้นที่ของห้องสมุดจำนวนหนึ่งจะถูกกันไว้เพื่อกิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วย”
ตัวอย่างเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างหนึ่งคือ Makerspaces
“แทนที่จะพิมพ์อะไรลงบนกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้เราสามารถพิมพ์วัสดุสามมิติได้” โรเบิร์ตส์อธิบาย
แล้วห้องสมุดได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่ โรเบิร์ตส์เป็นบรรณารักษ์มากว่าสี่ทศวรรษกลับบอกว่ามีคนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
“เมื่อวัดจากจำนวนครั้งที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดพบว่ายอดใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 6 ครั้ง เป็นมากกว่า 12 ครั้ง เนื่องจากพวกเบบี้บูมเมอร์พบว่ามีนิยายก็ชอบเข้ามาอ่าน”
โรเบิร์ตส์ยังได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในห้องสมุดในพื้นที่ห่างไกล เช่นในแถบทวีปยุโรปตอนเหนือ ซึ่งผู้คนแถวนั้นได้เห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องชินตาไปแล้ว
“อย่างเช่นในประเทศเดนมาร์ค ห้องสมุดสาธารณะกว่า 50 แห่ง สมาชิกสามารถใช้บัตรเข้าห้องสมุดได้ก่อนเวลาเปิด เข้าไปหาและนั่งอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์” เขาอธิบายต่อว่า “พอได้เวลาสี่ทุ่ม ไฟในห้องสมุดจะเริ่มหรี่ลง เป็นสัญญาณให้ทุกคนออกจากห้องสมุด”
“ในประสวีเดนก็มีศูนย์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเอางานหรือโครงการเข้ามาทำในห้องสมุด โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือในการใช้ซอฟแวร์ต่างๆ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องตัดวีดิโอหรือเพลง เพื่อทำให้โครงการเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา”
เค็น โรเบิร์ตส์ เป็นสมาชิกสมาคมของคณะผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติเกี่ยวกับอนาคตของห้องสมุดและกองจดหมายเหตุแห่งประเทศแคนาดา โดยได้อภิปรายเรื่อง’ยุคเฟื่องฟูของหนังสืออีบุ้คที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นระรอกที่สอง’ ที่ห้องสมุดมิลเล็นเนียม ในเมืองวินนิเพ็ค ณ. หอประชุม แครอล ชีลด์ส
แปลและเรียบเรียงจาก Will books survive as libraries turn the page in the digital age? โดย Sandra Thacker
ขอบคุณเว้ปไซท์ www.tkpark.or.th